ประวัติและผลงานของ
พระราชวิมลโมลี (ดำรง ทิฏฺฐธมฺโม ป.ธ.๙, ศษ.ด. )
รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
และ เจ้าอาวาสวัดพายัพ พระอารามหลวง
ประวัติและผลงานเจ้าอาวาส
๑. ชื่อ
พระราชวิมลโมลี ฉายา ทิฏฺฐธมฺโม อายุ ๖๐ พรรษา ๔๐
วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ.๙, ศษ.ด.
สังกัด วัดพายัพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
๑.๑ เจ้าอาวาสวัดพายัพ (พระอารามหลวง)
๑.๒ รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ๒๕๒๒
๑.๓ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ – ปัจจุบัน
๒. สถานะเดิม
ชื่อ ดำรง นามสกุล ด้อมกลาง
ชาติกาล วันเสาร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐
ชาติภูมิ บ้านเลขที่ ๓๔ หมู่ที่ ๑๒ บ้านด่านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง
จังหวัดนครราชสีมา
บิดา นายพรม ด้อมกลาง
มารดา นางทอง ด้อมกลาง
๓. บรรพชา
วันพุธที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๕
วัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
พระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการเพชร พทฺธญาโณ วัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด
อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
๔. อุปสมบท
วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑
วัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
พระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการเพชร พทฺธญาโณ วัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด
อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
๕. วิทยฐานะ
พ.ศ.๒๕๐๔ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่๗ จากโรงเรียนชุมพวงวิทยา
พ.ศ.๒๕๐๘ สอบได้ น.ธ.เอก สำนักเรียนคณะจังหวัดนครราชสีมา วัดพระนารายณ์
พ.ศ.๒๕๑๒ สอบได้ ป.ธ.๓ สำนักเรียนคณะจังหวัดนครราชสีมา วัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๑๖ สอบได้ ป.ธ.๖ สำนักเรียนคณะจังหวัดนครราชสีมา วัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๑๙ สอบได้ ป.ธ.๙ สำนักเรียนวัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๕๕๑ ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศษ.ด.)
สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๕๑ กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต)
สาขาวิชาภาษาบาลี ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์
การศึกษาพิเศษ ได้ศึกษาค้นคว้าความรู้พิเศษเพิ่มเติมปฏิบัติจริงได้และฝึกสอนได้ คือ
- ศึกษาการเขียนลายไทย วาดภาพ ปั้น หล่อ แกะสลักลายไทยประดับอาคาร
- ศึกษาการเขียนแบบแปลนการก่อสร้างโบสถ์ ศาลา กุฏิ หอระฆัง เมรุ ฯลฯ
- ศึกษาการปั้น หล่อ พระพุทธรูป ตามหลักพุทธศิลป์
- ศึกษาการออกแบบ และการทำแผนผังงานก่อสร้างวัดทั้งระบบ
- ศึกษาวิชาการสมัยใหม่ ได้นำสื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มาใช้จัดทำข้อมูลสารสนเทศภายในวัดเป็นแห่งแรกของจังหวัดฯ ปี ๒๕๓๑
- ศึกษาค้นคว้าวิจัยตรวจสอบด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม การสวดมนต์ การสวดสังฆกรรม พิธีกรรม และงานวิชาการทางพระพุทธศาสนา
ความชำนาญการพิเศษ ด้านนวกรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และการก่อสร้างวัด
ได้รับมอบจากเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นหัวหน้าพัฒนาวัดได้เขียนแบบแปลนถวายวัด และช่วยควบคุมการก่อสร้างให้วัดต่างๆ เช่น
- แบบแปลนหอประชุมสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา วัดพายัพ (ปี ๒๕๑๖)
- พระอุโบสถวัดพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถวัดตะกุดเครือปลอก อำเภอจักราช
- อุโบสถวัดสระบัวเกลื่น อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถวัดยางใหญ่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถวัดสว่างบูรพาราม ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน
- อุโบสถวัดบ้านบุ ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช
- อุโบสถวัดพลกรัง ตำบลพลกรัง อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถวัดปรือแวง ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- อุโบสถวัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง
- อุโบสถวัดกำปัง ตำบลกำปัง อำเภอโนนไทย
- อุโบสถวัดสีจาน อำเภอขามทะเลสอ
- อุโบสถวัดโคกประดู่ ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถวัดตะบอง ตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย
- อุโบสถวัดเหมสูง ตำบลหนองพวง อำเภอจักราช
- อุโบสถวัดปรก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ศาลาการเปรียญวัดพลับ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ศาลาการเปรียญวัดหนองจะบก อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ศาลาการเปรียญวัดสีดา ตำบลสีดา อำเภอบัวใหญ่
- ศาลาการเปรียญวัดพลับพลา ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย
- ศาลาการเปรียญวัดบ้านหนุก ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอโนนสูง
- ศาลาการเปรียญวัดด่านเกวียน ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง
- ศาลาการเปรียญวัดโคกสีสุก ตำบลจักราช อำเภอจักราช
- ซุ้มประตูวัดพายัพ ๓ ภาษา อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ซุ้มประตูวัดหนองจะบก อำเภอเมืองนครราชสีมา
- หอระฆังวัดพายัพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา
- หอระฆังวัดบึง ตำบลในเมือ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- หอระฆังวัดประมวลราษฎร์ ตำบลจอหอ อำเภอเมือง
- หอระฆังวัดหนองจะบก ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
- หอระฆังวัดทรงศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
- กุฏิสงฆ์วัดหนองบัว ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง
- กุฏิสงฆ์วัดบ้านกระทอน ตำบลมะเริง อำเภอเมือง
- ตราวัดพายัพ อ.เมืองนครราชสีมา
- ตราวัดบึง อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ตราวัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง
- สระน้ำคอนกรีตวัดบุ ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช
- เมรุวัดพิกุลทอง อำเภอชุมพวง
- เมรุวัดนกออก อำเภอปักธงชัย
- กุฏิวัดหนองจอก ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช
- อุโบสถเรือวัดอรัญญวนาราม อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
- กุฏิวัดใหม่อัมพวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถหินวัดแหลมทอง อำเภอหนองบุญมาก
- อุโบสถวัดหนองพลวง อำเภอจักราช
- เมรุวัดสมุทรการ อำเภอครบุรี
- อาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ตึก ๕ ชั้น
- อุโบสถวัดแหลมทอง ตำหนองหัวแรด อำเภอหนองบุญมาก
- กุฏิวัดปรางค์น้อย ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย
- กุฏิวัดพลจลก ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอโนนสูง
- กุฏิวัดโนนมะกอก ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง
- ซุ้มประตูวัดผาณิตาราม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
- อุโบสถวัดหนองหัวฟาน ตำบลเมืองนาท อำเภอขามสะแกแสง
- อุโบสถวัดใหม่สุนทริการาม ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย
- อุโบสถวัดโนนหมัน ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- อุโบสถทรงเรือสำเภาอยุธยา วัดพายัพ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ซุ้มพระและพระประธานโรงเรียนมหิศราธิบดี อำเภอเมือง
- พระประธานอุโบสถวัดพายัพ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- พระประธานหล่อไฟเบอร์ วัดยางน้อยหัวสิบ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- พระประธานวัดบ้านหนองจอก อำเภอจักราช
- พระประธานวัดโนนหมัน อำเภอโนนสูง
- ศาลาเอนกประสงค์วัดพุทธมงคลนิมิตร รัฐนิวแม็กซิโก สหรัฐอเมริกา
- และถวายแปลนพิมพ์เขียวให้วัดต่างๆ ไปสร้างอีกมากกว่า ๒๐๐ วัด
เกียรติคุณที่ได้รับ
พ.ศ.๒๕๒๖ ได้รับประกาศนียบัตร-พัดรอง สำนักเรียนพระปริยัติธรรมตัวอย่าง
ประเภทดีเด่น จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก (วาสนมหาเถร)
พ.ศ.๒๕๒๖ ได้รับประกาศนียบัตร-พัดรอง วัดพัฒนาตัวอย่างประเภทดีเด่น
จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก (วาสนมหาเถร)
พ.ศ.๒๕๒๗ สำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้
ยกย่องนำประวัติผลงานไปตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานะเป็นพระนักพัฒนา
ดีเด่น ลงในหนังสือ THAI LIFE LAND OF THE
YALLOWROBES : REVISITED ฉบับเดือน ธันวาคม
พ.ศ.๒๕๒๗
พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับเสาเสมาธรรมจักร สาขาการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม
เนื่องในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเทศกาลวิสาขบูชา ณ มณฑล
พิธีท้องสนามหลวง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราช
กุมารี
๖. งานปกครอง
พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นเจ้าอาวาสวัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นหัวหน้าคณะทำงานพัฒนาวัดจังหวัดนคราชสีมา
พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอขามสะแกแสง
พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพายัพ (พระอารามหลวง)
พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นเจ้าอาวาสวัดพายัพ (พระอารามหลวง)
สถิติพระภิกษุสามเณรวัดพายัพ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๒๕๕๑ มีดังนี้
มีพระภิกษุจำพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๕๑ รวมจำนวน ๑,๑๓๙ รูป
มีสามเณรจำพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๕๑ รวมจำนวน ๒,๔๕๖ รูป
มีศิษย์วัด พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๕๑ รวมจำนวน ๘๘ คน
๗. งานศึกษา
พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลี วัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๑๖ เป็นกรรมการสอบธรรม-บาลีสนามหลวง จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๑๗ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสำนักเรียนวัดเทพธิดาราม
กรุงเทพ
พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นกรรมการตรวจข้อสอบบาลีสนามหลวง
พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นกรรมการสอบธรรม-บาลีสนามหลวง จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นรองประธานอำนวยการสอบธรรม-บาลีสนามหลวง
จังหวัดนครราชสีมา ถึงปัจจุบัน
สถิติการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐–๒๕๕๑
แผนกธรรม รวมนักเรียน จำนวน ๒,๑๘๙ รูป สอบได้ รวมจำนวน ๑,๓๘๙ รูป
แผนกบาลี รวมนักเรียน จำนวน ๒,๖๔๒ รูป สอบได้ รวมจำนวน ๑,๑๘๖ รูป
๘. งานเผยแผ่
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นรองประธานอำนวยการพระธรรมทูตจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๕๐ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น พระวิปัสสนาจารย์ หัวหน้าจังหวัด
นครราชสีมา และผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาอาสภมหาเถระ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
งานให้บริการแก่คณะสงฆ์ และส่วนราชการในจังหวัดนครราชสีมา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๕๐ วัดพายัพได้ใช้สถานที่การจัดอบรม ประชุม สัมมนา ถวายความรู้แก่พระสังฆาธิการ ตั้งแต่ระดับเจ้าคณะภาคลงมาถึงในระดับเจ้าอาวาส รวมจำนวนกว่า ๗๐,๐๐๐ รูป จัดอบรมศีลธรรม คุณธรรม ให้แก่ข้าราชการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมจำนวนกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน เช่น
- ประชุมประจำเดือนของคณะสงฆ์จังหวัดฯ ทุกเดือน ครั้งละ ๑๐๐ รูป/คน
- ปี ๒๕๒๗ อบรมโรงเรียนพระสังฆาธิการ ๑๘๕ รูป รวม ๒๕ วัน
- ปี ๒๕๒๗ อบรมหลักสูตรความมั่นคงของชาติ ๓๕๐ รูป รวม ๗ วัน
- ปี ๒๕๒๗ อบรมโครงการของ กนช. แก่เจ้าคณะอำเภอ ๔๘๐ รูป รวม ๓ วัน
- ปี ๒๕๒๗ อบรมพระธรรมทูตจังหวัดนครราชสีมา ๒๕๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๒๘ อบรมโครงการของ กนช. แก่เจ้าคณะตำบล ๓๕๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๒๘ อบรมโครงการพระธรรมทูต อปต. ๒๘๖ รูป รวม ๗ วัน
- ปี ๒๕๒๙ อบรมครูสอนพระปริยัติธรรมจังหวัดฯ ๔๘๐ รูป รวม ๑๑ วัน
- ปี ๒๕๓๐ อบรมโครงการสวดมนต์ของคณะสงฆ์จังหวัด ๒๑๐ รูป รวม ๙ วัน
- ปี ๒๕๓๐ ปฏิบัติธรรมพระภิกษุสามเณรที่วัดป่าคูเมือเก่า ๘๗ รูป รวม ๑๑ วัน
- ปี ๒๕๓๑ ปฏิบัติธรรมพระภิกษุสามเณรที่วัดป่าคูเมือเก่า ๘๗ รูป รวม ๑๕ วัน
- ปี ๒๕๓๑ อบรมเจ้าอาวาส กรรมการ เรื่องพัฒนาวัด ๓๐๙ รูป/คน รวม ๕ วัน
- ปี ๒๕๓๒ อบรมเรื่องการสวดมนต์สังฆกรรมคณะสงฆ์ ๓๒๐ รูป รวม ๕ วัน
- ปี ๒๕๓๒ อบรมโครงการของ มทบ.๓ ในเขตอีสานใต้ ๑๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๓๒ อบรมเรื่องจิตเวชแก่พระภิกษุสามเณร ๑๕๐ รูป รวม ๓ วัน
- ปี ๒๕๓๓ อบรมพระสังฆาธิการ เรื่องการเผยแผ่ ๕ รุ่น ๘๐๐ รูป รวม ๙ วัน
- ปี ๒๕๓๓ อบรมครูสอนพระปริยัติธรรมจังหวัดฯ ๒๐๐ รูป รวม ๙ วัน
- ปี ๒๕๓๔ อบรมพระสังฆาธิการเขตอีสานใต้ ๕ จังหวัด ๑๖๐ รูป รวม ๘ วัน
- ปี ๒๕๓๔ อบรมเรื่องจิตเวชแก่พระสังฆาธิการ ๒๒๘ รูป รวม ๓ วัน
- ปี ๒๕๓๕ อบรมพระอุปัชฌาย์ของคณะสงฆ์จังหวัด ๓๕๐ รูป รวม ๕ วัน
- ปี ๒๕๓๕ อบรมพระสังฆาธิการของคณะสงฆ์จังหวัด ๑๗๖ รูป รวม ๕ วัน
- ปี ๒๕๓๖ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จประทานสัญญาบัตร-พัดยศ แก่พระสังฆาธิการ ภาค ๑๐-๑๒ รวม ๑๖๐ รูป
- ปี ๒๕๓๖ อบรมโครงการหลักสูตรเพื่อมั่นคงของชาติ ๖๐ รูป รวม ๕ วัน
- ปี ๒๕๓๗ อบรมเจ้าอาวาสใหม่ เขตปกครองภาค ๑๑ ๑๐๐ รูป รวม ๑๕ วัน
- ปี ๒๕๓๘ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๑ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา และวัดพายัพ และได้จัดต่อเนื่องอีกดังนี้
- ปี ๒๕๓๙ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๒ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๓๙ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๓ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๓๙ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๔ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๓๙ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๕ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๔๓ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๖ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- อบรมฝึกซ้อมนักเรียน จัดประกวดสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะของจังหวัด และบันทึกเทปให้โรงเรียนต่างๆเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๒๙
- อบรมนักเรียนเปิดเทอมใหม่ มาฟังธรรมเจริญสมาธิ ที่วัดพายัพ ทุกสัปดาห์
- จัดเทศน์มหาชาติเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ ให้แก่โรงเรียนสุรนารีวิทยา โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ เป็นต้น
- ส่งพระวิทยากรวัดพายัพ ไปช่วยอบรม และสอนวิชาพุทธศาสนาในโรงเรียน และสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมา หลายแห่ง ตลอดมาทุกปี
- อบรมนักเรียนให้แก่ โรงเรียนเมืองนครราชสีมา โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา โรงเรียนเทศบาล ๓ ยมราชสามัคคี โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ และวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา โรงเรียนเทคโนโลยีอาชีวศึกษานครราชสีมา (A.TEC) โรงเรียนเทคโนโลยีช่างกลพณิชยการ (ชพน.) และมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เนื่องในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนา ที่วัดพายัพ และในพิธีไหว้ครูของโรงเรียนทุกปี รวมจำนวนผู้เข้าร่วมในพิธีประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน ในโอกาสต่างๆ
- เป็นผู้บรรยายเรื่องชาวพุทธต้องรู้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา เสาร์-อาทิตย์
- จัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ และออกตรวจเยี่ยมโครงการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกร ณราชวิทยาลัย
- จัดโครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสสำคัญต่างๆ มีผู้เข้าร่วมอุปสมบทในโครงการที่วัดพายัพ ครั้งละ ๗๐-๑๐๐ รูป
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งเป็นประธานการอบรมข้าราชการตำรวจภูธรภาค ๓ เมื่อปี ๒๕๔๒ จำนวน ๔๐ รุ่น รวมกว่า ๘,๐๐๐ นาย
งานเป็นวิทยากร ได้บรรยายถวายความรู้แก่คณะสงฆ์ ดังนี้
- เป็นวิทยากรบรรยายคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องการดูแลความเรียบร้อยในวัด
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมฝึกซ้อมอุปัชฌาย์ในจังหวัดนครราชสีมา ทุกปี
- เป็นวิทยากรบรรยายและตอบปัญหาโครงการตรวจเยี่ยมวัดและประชาชนของคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงพรรษาทุกปี จำนวน ๓๒ อำเภอ
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมวุฒบรรพชิต และไวยาวัจกร จังหวัดนครราชสีมา ทุกปี
- เป็นวิทยากรอบรมเรื่องกิจวัตร ๑๐ ประการ ในงานปฏิบัติธรรมของวัดต่างๆ ทุกปี
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมครูสอนปริยัติธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ทุกปี
- เป็นผู้ฝึกซ้อมแก้ไขการสวดมนต์ของคณะสงฆ์ และบันทึกเทปถวายแก่วัดต่างๆ
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมพระธรรมทูตของคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา ทุกปี
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมถวายความรู้แก่พระสังฆาธิการ คณะสงฆ์จังหวัดต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาวัด และการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม โดยเจ้าคณะจังหวัดนั้นๆ และกรมการศาสนา เป็นผู้นิมนต์ หลายครั้ง
- เป็นวิทยากรบรรยายถวายความรู้แก่พระสังฆาธิการ “เรื่องบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาบ้านเมือง” โครงการกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ (กนช.) ณ สถานที่ ดังนี้
- สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- จิตตภาวันวิทยาลัย อ.บางละมุง จังหวัดชลบุรี
- วัดเบญจมบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
- วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
- วัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- วัดคะตึกเชียงมั่น อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
- วัดพระศรีมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
- วัดคีรีวง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
- วัดพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
- วัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
- วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
- วัดโคกสมานคุณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมเจ้าอาวาสวัดพัฒนาตัวอย่างทั่วประเทศ “เรื่องประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาวัด” ปี ๒๕๓๘ โดย กรมการศาสนา เป็นผู้นิมนต์ ณ สถานที่ดังนี้
- วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา (รวมคณะสงฆ์ในหนตะวันออก)
- วัดสะเรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช (รวมคณะสงฆ์ในหนใต้)
- วัดเจดีย์ชาวหลัง จังหวัดลำปาง (รวมคณะสงฆ์ในหนเหนือ)
๙. งานด้านสาธารณูปการ การก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์วัด
๑. ศาลาการเปรียญ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย
สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๖๐๐,๐๐๐บาท (สร้างในสมัยอดีตเจ้าอาวาส)
๒. หอประชุมสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย
สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท (สร้างในสมัยอดีตเจ้าอาวาส)
๓. กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง
- กุฏินางกิมนึ้ง ชิ้นในเมือง คอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ๒ ชั้น สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๐๔๐,๐๐๐ บาท (สร้างในสมัยอดีตเจ้าอาวาส)
- กุฏิกรรมฐาน คอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยสิ้นค่าก่อสร้าง ๙๓,๐๐๐ บาท
- กุฏินางมาลี ตรีสุคนธ์ คอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ๒ ชั้น สิ้นค่าก่อสร้าง ๔๖๐,๐๐๐ บาท
- กุฏิวายุภักษ์ คอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ๓ ชั้นล่างเป็นถ้ำหินงอกหินย้อย สิ้นค่าก่อสร้าง ๔,๗๓๐,๐๐๐ บาท
๔. หอสมุดปริยัติปกรณ์และอาคารเรียนพระปริยัติธรรม สร้างด้วยคอนกรีตเสริม เหล็กทรงไทย ๒ ชั้น สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๑๐๑,๐๐๐ บาท
๕. หอระฆังทรงบุษบก คอนกรีตเสริมเหล็กสิ้นค่าก่อสร้าง ๑๗๘,๐๐๐ บาท
๖. โรงครัว ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สิ้นค่าก่อสร้าง ๒๙๐,๐๐๐ บาท
๗. สำนักงานโรงเรียน คอนกรีตเสริเหล็ก สิ้นค่าก่อสร้าง ๒๗๙,๐๐๐ บาท
๘. หอธรรมจักร ๑๒ เหลี่ยม คอนกรีตเสริมเหล็ก ๕ ชั้น สิ้นค่าก่อสร้าง
๔,๗๓๐,๐๐๐ บาท
๙. ศูนย์สมุนไพรพุทธรักษา คอนกรีตเสริมเหล็ก กำลังปรับปรุงเป็นอาคาร
ประชาสัมพันธ์ สิ้นค่าก่อสร้าง ๘๖๐,๐๐๐ บาท
๑๐. ซุ้มประตูวัดขาดใหญ่ ๒ ด้าน สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย แบบเสา
ตะลุงล่ามช้าง ป้ายชื่อวัด ๓ ภาษา คือ ไทย จีน อังกฤษ มียอดเสาลูกแก้วเม็ดทรงมัณฑ์ ประตูเหล็ก มีห้องเก็บอัฐิ ๒ ห้อง สิ้นค่าก่อสร้าง ๕๖๗,๐๐๐ บาท
๑๑. ห้องน้ำ ๑๕ ห้อง สิ้นค่าก่อสร้าง ๗๐,๐๐๐ บาท
๑๒. กำแพงรอบวัด คอนกรีตเสริมเหล็ก มีลูกกรงดัด ความยาว ๔๒๒ เมตร
สูง ๒.๕๐ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๗๔๐,๐๐๐ บาท
๑๓. โรงเก็บโต๊ะเก้าอี้ ที่พักคนงาน สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุค
มีห้องน้ำ ๘ ห้อง และถังน้ำฝน สิ้นค่าก่อสร้าง ๔๙๕,๐๐๐ บาท
๑๔. อุโบสถหินอ่อนหลังใหม่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงเรือสำเภาอยุธยา
กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ขณะนี้ สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑๕. สร้างที่ปฏิบัติธรรมวัดพายัพขึ้น ๓ แห่ง และได้ก่อสร้างพัฒนาโดยลำดับ ดังนี้
- ที่ธรณีสงฆ์วัดพายัพบ้านปูน ตั้งอยู่ที่บ้านปูน-หนองพิมาน ตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา โดยนางมาลี ตรีสุคนธ์ ถวายที่ดินจำนวน ๘๐ ไร่เศษ เริ่มพัฒนาเมื่อปี ๒๕๒๓ สิ้นค่าก่อสร้างแล้วกว่า ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท
- วัดป่าคูเมืองเก่า ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีผู้ศรัทธาถวายที่ดิน ๒๘ ไร่ เริ่มพัฒนาเมื่อปี ๒๕๒๓ และได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัดถูกต้องและแต่งตั้งเจ้าอาวาสแล้ว สิ้นค่าก่อสร้างกว่า ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
- ธรณีสงฆ์วัดพายัพซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ ซื้อที่ดิน ๓๘๔ ไร่ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นต้นมา ได้สร้างถนน กุฏิ ศาลา ห้องน้ำ ไฟฟ้า อ่างน้ำ ปลูกต้นไม้ และการบำรุงดูแลรักษา สิ้นค่าก่อสร้างกว่า ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑๖. การสร้างถาวรวัตถุอื่นๆ ภายในวัด
๑. พระประธานประจำหอประชุมสงฆ์ ปางปฐมเทศนา ๑๒๐,๐๐๐ บาท
๒. พระประธานประจำอุโบสถ ปางปฐมเทศนาห้อยพระบาท จำลองจากถ้ำอชันตา ประเทศอินเดีย สูง ๓ เมตร ๙ นิ้ว ค่าก่อสร้าง ๗๒๐,๐๐๐ บาท
๓. พระประธานประจำศาลา ปางปฐมเทศนา ค่าก่อสร้าง ๑๙๕,๐๐๐ บาท
รวมผลงานด้านสาธารณูปการ การก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ ทุกรายการ
รวมจำนวนเงินกว่า ๖๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกสิบเจ็ดล้านบาท)
๑๐. งานสาธารณสงเคราะห์
๑. จัดหาสิ่งของและนำประชาชนไปแจกช่วยเหลือผู้ประสพอุทกภัยที่บ้านหลุมข้าว อำเภอโนนสูง มูลค่าเป็นเงินประมาณ ๖๐,๐๐๐๐ บาท
๒. จัดหาสิ่งของไปช่วยผู้ประสพอัคคีภัยที่บ้านโคกพรม หนองจะบก เมืองนครราชสีมา
๓. จัดหาพันธุ์ไม้แจกประชาชนและวัดต่างๆ จำนวนมาก และได้มอบหมายจากจังหวัด ฝ่ายสงฆ์ฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการปลูกต้นไม้ ตามโครงการอีสานเขียว ๒ ล้านต้น
๔. บริจาคหนังสือ-เงินสร้างห้องสมุดวัดโคกกรวด จำนวนเงิน ๑,๐๐๐ บาท
๕. เดินทางไปไปตรวจงานก่อสร้างวัดต่างๆ ๑๔๐ วัด ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ แบบแปลน พิมพ์เขียว ถวายวัดต่างๆ จำนวนเงิน ๔๒,๐๐๐ บาท
๖. เทคอนกรีตถนนหน้าประตูวัดทิศใต้ให้บริการประชาชน จำนวนเงิน ๑๘,๐๐๐ บาท
๗. บริจาคเงินช่วยงานพระธรรมทูต จำนวนเงิน ๖,๐๐๐ บาท
๘. บริจาคเงินสร้างโรงเรียนเด็กอนาถาหมู่บ้านเกษตรสามัคคี ๗,๐๐๐ บาท
๙. จัดหาทุนบริจาคเงินให้มูลนิธิประชานุเคราะห์ จำนวนเงิน ๑๘,๗๒๔ บาท
๑๐. จัดผ้าป่าไปช่วยวัดในถิ่นกันดารเป็นครั้งคราว
๑๑. จัดข้าวสารราคาถูกไปจำหน่ายสงเคราะห์ชาวบ้านยากจน
๑๒. จัดอาหารไปเลี้ยงคนป่วยอนาถาในโรงพยาบาลเป็นครั้งคราว
๑๓. จัดหาเครื่องนุ่งห่ม ผ้าห่ม ไปช่วยชาวบ้านยากจน และผู้ประสพภัย
๑๔. นำสิ่งของเป็นมูลค่า ๘๐,๐๐๐ บาท และเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ไปช่วยผู้ประสพภัย ธรรมชาติที่ภาคใต้ ๒ ครั้ง ที่บ้านนาเขลียง บ้านกะทูน และที่ประทิว จังหวัดชุมพร
๑๕. ช่วยเหลือผู้ประสพอัคคีภัย ที่ ร.ร.รวมมิตรวิทยา อ.เมืองนครราชสีมา
๑๖. ให้ความอุปถัมภ์สมาคมสงเคราะห์ลูกเสือชาวบ้านจังหวัดนครราชสีมา ตั้งสมาคม และใช้หอประชุมสมาชิกของสมาคมฯ ทุกปี ขณะนี้มีสมาชิก ๑๔,๐๐๐ คน
๑๗. นำประชาชนชาวบ้าน พัฒนาบึงสาธารณะที่บ้านสะเดาเอน เนื้อที่ ๑๐๐ ไร่
๑๘. มอบวิทยุสื่อสารไอคอมแก่ สภอ.คง ๕ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ เพื่อใช้ในราชการ มูลค่าเป็นเงิน ๓๒,๐๐๐ บาท
๑๙. มอบรถจิ๊บวิลลี่หน้ากบให้วัดการเวก อ.พิมาย ใช้ในงานพระธรรมทูต ๑ คัน
๒๐. ร่วมกับกองทัพภาคที่ ๒ จัดระดมทุนฝ่ายสงฆ์จังหวัดฯ สร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นเงิน ๓,๒๐๐,๐๐๐ บาท
๒๑. หล่อพระประธานให้โรงพยาบาลครบุรี หน้าตัก ๕๓ นิ้ว ปางปฐมเทศนา ๑ องค์
๒๒. ให้ตั้งศูนย์พระสงฆ์ประชาพัฒนาอิสานใช้สถานที่ตั้งศูนย์ที่สมาคมฌาปนกิจลูกเสือ
๒๓. ให้ชมรักษ์พระพุทธศาสนาใช้สถานที่ตั้งชมรม ที่อาคารหอพระธรรมจักรชั้น ๒
๒๔. นำพระภิกษุสามเณรบริจาคโลหิตให้แก่เหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา ที่โรงพยาบาลมหาราช และที่ห้างเดอะมอลล์นครราชสีมา หลายครั้ง
๒๕. สร้างศูนย์สมุนไพรเฉลิมพระเกียรติเพื่อสงเคราะห์ประชาชนที่วัดพายัพ รวมค่าก่อสร้าง ๘๐๐,๐๐๐ บาท
รวมผลงานด้านสาธารณสงเคราะห์ ทุกรายการ
รวมจำนวนเงินกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐๐ บาท (สี่ล้านบาท)
๑๑. งานศึกษาสงเคราะห์
๑. บริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เพื่อสร้างอาคารเรียนปริยัติสามัญ วัดเดิม อำเภอพิมาย จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
๒. สร้างโต๊ะเก้าอี้นักเรียนถวายวัดการเวก อำเภอพิมาย ๖๐ ชุด เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท
๓. บริจาคหนังสือสารคดีประจำห้องสมุดแก่โรงเรียนต่างๆ หลายแห่ง
๔. จัดหาทุนสร้างศาลาจริยธรรม ประจำโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
๕. ซื้อกลองยาว ชุด ๘ นิ้ว ๒๔ ชิ้น มอบให้โรงเรียนบ้านโกรกเดือนห้า ๑๒,๐๐๐ บาท
๖. จัดกัณฑ์เทศน์มหาชาติสร้างห้องเรียนอนุบาลโรงเรียนยางน้อยหัวสิบ ๓๘,๐๐๐ บาท
๗. บริจาคหินอ่อนสร้างห้องเรียนโรงเรียนชุมชนพลับพลา จำนวนเงิน ๒๑,๐๐๐ บาท
๘. เปิดสอนธรรมศึกษาทุกชั้นในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนนครราชสีมา
๙. เปิดสอนวิธีการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ให้แก่นักโทษเรือนจำกลางนครราชสีมา
๑๐. มอบโต๊ะเก้าอี้นักเรียนให้วัดโพธิ์ย่อย ลำปลายมาศ บุรีรัมย์ ๒๐ ชุด มูลค่า ๑๒,๐๐๐ บาท
๑๑. อุปถัมภ์การอบรมลูกเสือ อ.ขามทะเลสอ ๑๐,๐๐๐ บาท
๑๒. อุปถัมภ์การอบรมปฏิบัติธรรมของโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ๑๐,๐๐๐ บาท
๑๓. มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน ประจำปี ๒๕๔๕ จำนวน ๑๘ ทุน ๔๕,๐๐๐ บาท
๑๔. มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน ประจำปี ๒๕๔๖ จำนวน ๑๘ ทุน ๔๕,๐๐๐ บาท
รวมผลงานด้านการศึกษาสงเคราะห์ ทุกรายการ
รวมจำนวนเงินกว่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาท)
๑๒. งานพิเศษ
เป็นคณะกรรมการในส่วนงานคณะสงฆ์ และส่วนราชการ ดังนี้
พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นกรรมการสภาวิทยาลัยสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ.๒๕๒๙ เป็นกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นรองประธานกรรมการอบรมพระธรรมทูตจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นอาจารย์ประจำมหาจุฬาลงกรณฯ วิทยาเขตนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๑ เป็นพระปริยัตินิเทศก์จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๑ เป็นประธานกรรมการดำเนินการฝึกซ้อมสวดมนต์-สังฆกรรม
พิธีกรรม
พ.ศ.๒๕๓๒ เป็นกรรมการยกร่างหลักสูตรครูสอนปริยัติธรรม ของกรมการศาสนา
พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นกรรมการการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นกรรมการพิจารณาปรับปรุง พ.ร.บ.คณะสงฆ์
พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต
พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นกรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นประธานกรรมการประจำวิทยาเขตนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นกรรมการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณฯ
พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นรองประธานกรรมการ และเป็นอาจารย์สอนวิชานวกรรมการ
ก่อสร้าง โครงการฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
พ.ศ.๒๕๔๓ กรรมการพัฒนาแผนแม่บทก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณฯ
พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นรองประธานกรรมการยกร่างข้อบังคับการปฏิบัติศาสนกิจ
ของนิสิต
พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (สภาสูง)
พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นอนุกรรมการคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย
พ.ศ.๒๕๔๘ เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเมืองนครราชสีมา
๑๓. การศึกษาดูงานในต่างประเทศ
ตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ – ๒๕๕๐ เดินทางไปศึกษาดูงาน ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม และไปเพื่อสัมพันธไมตรีด้านศาสนาในต่างประเทศ จำนวนหลายครั้ง คือ ประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน สหรัฐอเมริกา
๑๔. สมณศักดิ์
พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร-พัดยศเปรียญธรรม ๙ ประโยค ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
พ.ศ.๒๕๒๓ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร-พัดยศ พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ
ที่ พระศรีธรรมาภรณ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
พระบรมมหาราชวัง
พ.ศ.๒๕๔๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นราช
ที่ พระราชวิมลโมลี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง