Thursday, March 17, 2011

พุทธประวัติ ภาพพุทธประวัติ

พุทธประวัติ ภาพพุทธประวัติ
 
ตรัสรู้
     มีทุกอย่างที่ชาวโลกต้องการ แต่สละเพื่อออกบวช
     ออกบวชช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์
     อธิษฐานเป็นบรรพชิต
     เรียนจบสุดความรู้ของอาจารย์
     แสวงหาทางพ้นทุกข์
     บำเพ็ญเพียรทางจิต
     ชนะมารตั้งแต่ยังไม่ตรัสรู้
     ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยการทำสมาธิภาวนา
     ค้นพบสุดยอดแห่งความรู้
     บรมครูผู้ยิ่งใหญ่
ประกาศพระศาสนา
     ใครปฏิบัติตามคำสอนก็จะบรรลุธรรมได้
     ประกาศพระศาสนานำพาสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
     เวฬุวันมหาวิหาร..วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
     สอนได้ทุกระดับชั้น ทั้งมนุษย์ เทวดา และพรหม
     โอวาทปาฏิโมกข์ หัวใจพระพุทธศาสนา
     โปรดพุทธบิดา พุทธมารดา
     เปิดโลกทั้งสามด้วยพุทธานุภาพ
     ไปโปรดยักษ์
     ไปโปรดโจรองคุลิมาล     ไปโปรดพรหม     พระพุทธศาสนา ศาสนาแห่งปัญญา     พระพุทธศาสนา ศาสนาแห่งสันติภาพ     พระพุทธศาสนา ศาสนาแห่งการดับทุกข์
ปรินิพพาน

     ทรงปลงอายุสังขาร     ทำหน้าที่ครูเป็นครั้งสุดท้าย     เสด็จดับขันธปรินิพพาน     แบ่งพระพรมสารีริกธาตุ     วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับพุทธประวัติ 
     ม้ากัณฐกะ มีความสำคัญอย่างไร ?
     ถวายภัตตาหารครั้งใด มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ที่สุด ?
     ต้นพระศรีมหาโพธิ์เดิมชื่อว่าต้นอะไร ?
     ทำไมพราหมณ์โกณฑัญะบรรลุธรรมก่อนใครๆ ?     พรหมมีชีวิตเป็นอมตะจริงหรือ..
     รู้ไหมว่า..
          กว่าใครสักคนจะมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น..
          ต้องอดทนสร้างบารมีมานานสักเท่าใด ?

          คนเราเลือกเกิดได้รึเปล่า ?
          ไก่งามเพราะขน แล้วคนงาม..งามได้อย่างไร ?           ไขข้อข้องใจ ศิลปศาสตร์ 18 ประการคืออะไร ?
          วัดใดเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาและเกิดขึ้นเมื่อไร ?
          หลักธรรมใด ที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ?
          รู้ไหมเอ่ยว่า...          ทำไม? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาที่ดาวดึงส์           องคุลิมาลตัดนิ้วคนมาคล้องคอเพราะอะไร ?           ใครรู้วันตายของตัวเองบ้าง ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้า...ทรงรู้           ใคร คือพระภิกษุผู้เป็นเลิศถึง 5 ประการ ?           อ๊ะ อ๊ะ ตาวิเศษเห็นนะ ตาทิพย์.. (เหลือเชื่อ แต่เป็นเรื่องจริง)           พระบรมสารีริกธาตุไปไหน ?           ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการมีอะไรบ้าง รู้ไหมเอ่ย?          พระเจ้าจักรพรรดิคือใคร..?

Monday, March 14, 2011

ยาระงับสรรพทุกข์

ยาระงับสรรพทุกข์ คืออีกหนึ่งความพยายามของท่านพุทธทาสในการเฟ้น

หาวิธีหรือกุศโลบายในการนำเสนอพุทธธรรมให้น่าสนใจ โดยท่านนำเอา

แก่นธรรมสำคัญมาผูกเป็นบทกวีเพื่อให้จำง่าย นำไปประยุกต์ใช้ได้ทันทีที่

ได้อ่านหรือได้ยินได้ฟัง ที่น่าสังเกตก็คือท่านนำเอาคำสามัญที่เรารู้จักกันดี

อยู่แล้วมาผสมผสานกันขึ้นเป็นตัวยา แต่ในกลุ่มคำง่ายๆ ที่ท่านเลือกใช้นี่

เอง หากพิเคราะห์ให้ดีจะพบว่า ตัวตาแต่ละชนิดซ่อนสรรพคุณที่ไม่ธรรมดา

เลยในการรักษาโรค ตัวยาบางตัวอย่าง 'อย่างนั้นเอง' นั้น เป็นสัจธรรม

ระดับปรมัตถ์ แต่ท่านก็เอามาผูกเป็นบทกวีให้อ่านง่าย จำง่าย แต่ในการทำ

ความเข้าใจกลับไม่ง่ายเลย ด้วยเหตุนี้เมื่อท่านปรุงยาเป็นบทกวีเสร็จเรียบ

ร้อยแล้ว ท่านจึงต้องสาธยายสรรพคุณด้วยตัวเองกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง

ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันผู้ที่นำยาระงับสรรพทุกข์ตำรับของท่านไปใช้ผิดวัตถุ

ประสงค์ หรือเอาไปใช้เกินขนาด ยาระงับสรรพทุกข์มีหลายขนาน มีตัวยา

หลายอย่าง และรักษาได้หลายโรค

   ยาระงับสรรพทุกข์  

ต้น 'ไม่รู้ไม่ชี้' นี่เอาเปลือก

ต้น 'ชั่งหัวมันเลือก' เอาแก่นแข็ง

'อย่างนั้นเอง' เอาแต่รากฤทธิ์มันแรง

'ไม่มีกูของกู' แสวงเอาแต่ใบ

'ไม่น่าเอาน่าเป็น' เฟ้นเอาดอก

'ตายก่อนตาย' เลือกออกลูกใหญ่ๆ

หกอย่างนี้อย่างละชั่งตั้งเกณฑ์ไว้

'ดับไม่เหลือ' สิ่งสุดท้ายใช้เมล็ดมัน

หนักหกชั่งเท่ากับยาทั้งหลาย

เคล้ากันไปเสกคาถาที่อาถรรพณ์

'สัพเพ ธัมมานาลัง อภินิเวสายะ'

อัน เป็นธรรมชั้นหฤทัยในพุทธนาม

จัดลงหม้อใส่น้ำพอท่วมยา

เคี่ยวไฟกล้าเหลือได้หนึ่งในสาม

หนึ่งช้อนชาสามเวลาพยายาม

กินเพื่อความหมดสรรพโรคเป็นโลกอุดร./

  ว.วชิรเมธีภิกขุ

เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 553 วันที่ 6 - 12 มค. 2546 

ตายก่อนตาย

กวีนิพนธ์ของท่านพุทธทาสภิกขุ
 
ตายก่อนตาย
ตายเมื่อตายย่อมกลายไปเป็นผี ตายไม่ดีได้เป็นที่ผีตายโหง

ตายทำไมเพียงให้เขาใส่โลง ตายโอ่โถงนั้นคือตายเสียก่อนตาย

ตายก่อนตายมิใช่กลายไปเป็นผี แต่กลายเป็นสิ่งที่ไม่สูญหาย

ที่แท้คือความตายที่ไม่ตาย มีความหมายไม่มีใครได้เกิดแล

คำพูดนี้ผันผวนชวนฉงน เหมือนเล่นลิ้นกลาวนคนโกหก

แต่เป็นความจริงอันไม่ผันแปร ใครคิดแก้อรรถได้ไม่ตายเอย./

   เรื่องตายเสียก่อนตาย นับเป็น 'ปริญญาเอกจากสวนโมกข์' ที่ท่านพุทธ

ทาสภิกขุนำมาสอนอย่างค่อนข้างถี่ในช่วงหลังแห่งชีวิตของท่านจนเป็นที่

รู้จักกันแพร่หลาย และตัวท่านเองก็ใช้ชีวิตทั้งหมดพิสูจน์ในสิ่งที่ท่านสอน

ให้คนทั่วไปได้ประจักษ์ว่าการตายเสียก่อนตายนั้นเป็นไปได้จริงไม่ใช่เรื่อง

เลื่อนลอย

   ว่าโดยเนื้อหา การตายเสียก่อนตายก็คือเรื่อง การบรรลุนิพพานได้ในชีวิต

นี้นั่นเอง ก่อนหน้าท่านพุทธทาสขึ้นไป คนไทยที่เป็นชาวพุทธมีความเชื่อ

ว่า การบรรลุพระนิพพานคงต้องรอหลังจากตายแล้ว และต้องเวียนว่ายตาย

เกิดกันอีกหลายภพชาติจึงจะลุถึงภาวะพระนิพพาน ดังเมื่อมีการทำบุญเสร็จ

แล้ว และจะตั้งจิตอธิษฐานก็มักอธิษฐานกันว่า 'นิพพานปัจจโย โหตุ เม

อนาคตกาเล' (ขอให้บุญที่ข้าพเจ้าทำไว้จงเป็นปัจจัยให้บรรลุพระนิพพาน

ในอนาคตกาลโน้นเทอญ) ทั้งๆ ที่คนสมัยพระพุทธเจ้าท่านไม่อธิษฐานกัน

อย่างนี้ หากแต่อธิษฐานว่า 'ตุมเหหิ ทิฏฐธัมมัสสะ ภาคี โหมิ' (ขอให้

ข้าพเจ้าเป็นผู้มีส่วนได้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่ท่านได้บรรลุแล้วด้วยเถิด)

ต่อมาท่านพุทธทาสภิกขุเห็นว่า การเชื่อและสอนกันอย่างนี้ไม่ตรงตามพุทธ

พจน์ ท่านจึงสอนเสียใหม่ทั้งในรูปของกวีนิพนธ์อีกหลายบทที่มีเนื้อหา

ทำนองนี้และในรูปของคำบรรยาย และหนังสืออีกหลายสิบเล่ม มาถึงยุค

สมัยของพวกเรา ความเชื่อ และความรับรู้เกี่ยวกับพระนิพพานได้รับการเน้น

ย้ำและสานต่อให้ชัดเจนขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมว่าสามารถเป็นไปได้ในชีวิตนี้

โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) และหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ หลวงพ่อ

ชา สุภัทโท เป็นต้น

การที่ชาวพุทธส่วนใหญ่เริ่มมองเห็นว่าภาวะพระนิพพานไม่ได้เป็นเรื่องของ

โลกหลังความตายและไม่ได้อยู่ไกลถึงในอนาคต หากแต่อยู่ที่นี่ และเดี๋ยว

นี้ [HEAR and NOW] ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเพศ วัย

ชาติ ศาสนา ภาษา ผิวพรรณ วัฒนธรรม คงต้องยกความดีนี้ถวายเป็นอาจาริ

ยบูชาว่าเป็นเพราะการบุกเบิกอย่างสร้างสรรค์และเป็นผลงานชิ้นเยี่ยมของ

ท่านพุทธทาสภิกขุโดยแท้

   นี่หากไม่ได้ ไม้ซีก (คำของท่านเอง) อย่างท่านพุทธทาสภิกขุที่อาสามา

เป็นไม้ซุงคอยงัดกับการสอนพุทธศาสนาแนวจารีตแต่โบราณกาลที่ให้

ความสำคัญต่อความเชื่อ (ศรัทธา) และการฟังตามกันมาอย่างเป็นด้าน

หลักแล้วละก็ ชาวพุทธไทยในบัดนี้เวลาทำบุญอาจยังต้องอธิษฐานให้บรรลุ

นิพพานในอนาคตกาลชาติหน้ากันอยู่ต่อไปอีกนานนับนานโดยหารู้ไม่ว่า

พระนิพพานอันเป็นบรมธรรมและอุดมการณ์สูงสุดของพุทธศาสนานั้นอาจ

เกิดขึ้นได้ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ และกับคนทุกคนโดยไม่เกี่ยวกับการบวชหรือไม่บวช

แต่อย่างใดทั้งสิ้น

ธรรมสนุกๆจากหลวงพ่อชา

โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดยคุณ : วีระวงศ์ [ 31 ส.ค. 2543 / 18:33:14 น. ] 
เรื่องของการเหาะเหินเดินอากาศ
มีผู้สงสัยถามไถ่หลวงพ่อว่า
"เขาลือว่าหลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ เป็นแล้วเหาะได้ไหมครับ"
"แมงกุดจี่มันก็เหาะได้" ท่านตอบ
(แมงกุดจี่ - แมลงชนิดหนึ่งอยู่กับขี้ควาย)
อีกครั้งหนึ่งมีผู้ถามคล้าย ๆ กันว่า
"เคยอ่านพบเรื่องพระอรหันต์สมัยก่อน ๆ เขาว่าเหาะได้จริงไหมครับ"
"ถามไกลเกินตัวไป มาพูดถึงตอไม้ที่จะตำเท้าเราดีกว่า"ท่านกล่าว
ขอของดีไปสู้กระสุน
ทหารคนหนึ่งไปกราบขอพระเครื่องกันกระสุน
จากหลวงพ่อ ท่านบอกหน้าตาเฉยว่า
"เอาองค์นั้นดีกว่า เวลายิงกันก็อุ้มไปด้วย"
ท่านชี้ไปที่พระประธาน
เอ๊า
มีเด็กหิ้วกรงขังนกมาชวนหลวงพ่อซื้อ
เพื่อปล่อยนกในการทำบุญในสถานที่แห่งหนึ่ง
"นกอะไร เอามาจากไหน"
"ผมจับมาเอง"
"เอ๊า...จับเองก็ปล่อยเองซิล่ะ" ท่านว่า
ปวดเหมือนกัน
โยมผู้หญิงคนหนึ่งปวดขามาขอร้องหลวงพ่อเป่าให้
"ดิฉันปวดขา พลวงพ่อเป่าให้หน่อยค่ะ"
"โยมเป่าให้อาตมาบ้างซิ อาตมาก็ปวดเหมือนกัน"  ท่านตอบ
อาย
ครั้งหนึ่งหลวงพ่อรับนิมนต์เข้าวัง ขณะลงจากรถ
มีท่านเจ้าคุณรูปหนึ่งเข้ามาทักว่า
"คุณชา สะพายบาตรเข้าวัง ยังงี้ไม่นึกอายในหลวงหรือ"
"ท่านเจ้าคุณไม่อายพระพุทธองค์หรือ ถึงไม่สะพายบาตรเข้าวัง"  ท่านย้อน
อาจารย์ที่แท้จริง
ท่านชาคโรถูกหลวงพ่อส่งไปอยู่ประจำวัดสาขาแห่งหนึ่ง
เมื่อมีโอกาสหลวงพ่อได้เดินทางไปเยี่ยม
"เป็นไงบ้าง ชาคโร ดูผอมไปนะ"  หลวงพ่อทัก
"เป็นทุกข์ครับหลวงพ่อ"  ท่านชาคโรตอบ
"เป็นทุกข์เรื่องอะไรล่ะ"
"เป็นทุกข์เพราะอยู่ไกลครูบาอาจารย์เกินไป"
"มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอาจารย์ทั้งหก
อาจารย์ฟังให้ดี ดูให้ดี เขาจะสอนให้เราเกิดปัญญา
อาจารย์นกแก้วนกขุนทอง
สมัยนี้มีครูบาอาจารย์สอนธรรมะมาก บางอาจารย์อาจสอนคนอื่นเก่ง
แต่สอนตนเองไม่ได้ เพราะว่าสอนด้วยสัญญา (ความจำได้หมายรู้)
จำขี้ปากคนอื่นเขามาสอนอีกที
หลวงพ่อเคยแสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า
"เรื่องธรรมะนี่จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องบอกกัน
ไม่ใช่เอาความรู้ของคนอื่นมา
ถ้าเอาความรู้ของคนอื่นมาก็เรียกว่าจะต้องเอามาภาวนาให้มันเกิดชัดกับเจ้าของ
อีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่ว่าคนอื่นพูดให้ฟังเข้าใจแล้วมันจะหมดกิเลส
ไม่ใช่อย่างนั้น
ได้ความเข้าใจแล้วก็ต้องเอามาขบเคี้ยวมันอีกให้มันแน่นอนเป็นปัจจัตตังจริงๆ
(ปัจจัตตัง - รู้เห็นได้ด้วยตนเอง,รู้อยู่เฉพาะตน)
โรควูบ
นักภาวนาคนหนึ่งถามปัญหาภาวนาของตนกับหลวงพ่อ
"นั่งสมาธิบางทีจิตรวมค่ะ แต่มันวูบ
ชอบวูบเหมือนสัปหงกแต่มันรู้ค่ะ
มันมีสติด้วย เรียกว่าอะไรคะ"
"เรียกว่าตกหลุมอากาศ"  หลวงพ่อตอบ  "ขึ้นเครื่องบินมักเจออย่างนั้น"
นั่งมาก
วันหนึ่งหลวงพ่อนำคณะสงฆ์ทำงานวัด
มีวัยรุ่นมาเดินชมวัดถามท่านเชิงตำหนิ
"ทำไมท่านไม่นำพระเณรนั่งสมาธิ ชอบพาพระเณรทำงานไม่หยุด"
"นั่งมากขี้ไม่ออกว่ะ"  หลวงพ่อสวนกลับ ยกไม้เท้าชี้หน้าคนถาม
"ที่ถูกนั้น นั่งอย่างเดียวก็ไม่ใช่ เดินอย่างเดียวก็ไม่ใช่ ต้องนั่งบ้าง
ทำประโยชน์บ้าง ทำความรู้ความเห็นให้ถูกต้องไปทุกเวลานาที
อย่างนี้จึงถูก กลับไปเรียนใหม่ ยังงี้ยังอ่อนอยู่มาก
เรื่องการปฏิบัตินี้ถ้าไม่รู้จริงอย่าพูด มันขายขี้หน้าตนเอง"
ยศถาบรรดาศักดิ์
ท่านกล่าวถึงสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานมาไว้ครั้งหนึ่งว่า
"สะพานข้ามแม่น้ำมูล เวลาน้ำขึ้นก็ไม่โก่ง เวลาน้ำลดก็ไม่แอ่น"
ศักดิ์ศรี
หลวงพ่อเคยปรารภเรื่องภิกษุสะสมเงินทองปัจจัยส่วนตัวว่า
"ถ้าผมสิ้นไป พวกท่านทั้งหลายค้นพบ หรือเห็นปัจจัยเงินทองอยู่ในกุฏิผม
โอ๊ย...เสียหายหมด เสียศักดิ์ศรีพระปฏิบัติ"
จากคุณ : วีระวงศ์ [ 31 ส.ค. 2543 / 18:33:14 น. ]

คำสอนจากสวนโมกข์(หลวงพ่อพุทธทาส)

ฟ้าสางทางความลับสุดยอด

  • ชีวิตเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ตามประสงค์ โดยกฏอิทัปปัจจยตา
    ดังนั้น ชีวิตจึงเป็นสิ่งที่เราเติมธรรมะลงไปได้ตามที่เราต้องการ
    โดยการปฏิบัติธรรม. (๑)
  • ถ้ามีการศึกษาที่เห็นแจ้งจากภายใน (เป็นสันทิฏฐืโก) แล้ว
    ก็ไม่มีทางที่จะเป็นทาสทางสติปัญญาของใคร แม้แต่ของพระพุทธเจ้า:
    นี้เป็นหลักของพระพุทธศาสนา (ตามกาลามสูตรข้อสิบ) (๒)
  • ถ้าใช้หลักกาลามสูตรเป็นเครื่องตัดสินว่า
    เป็นสิ่งที่ควรรับถือเป็นหลักปฏิบัติแล้ว
    ก็ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นคำสอนของใคร
    เป็นของเดิมแท้หรือเป็นของใหม่ ฯลฯ
    หรือว่ามีประวัติมาอย่างไร (๓)
  • การมีธรรมะแท้จริง ก็คือ
    สามารถดำรงตนอยู่เหนือปัญหา
    หรือความทุกข์ทั้งปวง;
    ไม่เกี่ยวกับปริญญาบัตร ฯลฯ พิธีรีตอง
    หรือ หลักปรัชญาชนิดฟิโลโซฟี่ใดๆ (๔)
  • เรามีวิธีทำให้ชีวิตเป็นของเย็น
    ทุกอิริยาบถตามที่เราประสงค์จะมี
    ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ :
    เพื่อตนเอง - เพื่อสังคม - ตามธรรมชาติล้วนๆ (๕)
  • การศึกษา - ศาสนา - วัฒนธรรม - ประเพณี -
    การเมือง - การปกครอง - การเศรษฐกิจ - ศิลปะ ฯลฯ -
    วิทยาการใดๆ จะถือว่าถูกต้องได้
    เฉพาะเมื่อพิสูจน์การดับทุกข์ได้ในตัวมันเอง (๖)
  • การเรียน - การรู้ - การมีความรู้ - การปฏิบัติ -
    การใช้ความรู้ให้สำเร็จประโยชน์ เหล่านี้
    มิใช่สิ่งเดียวกัน; ระวังการมี การใช้ ให้ถูกต้อง (๗)
  • ชีวิตเย็นเป็นนิพพาน ในปัจจุบัน คือ
    ไม่มีกิเลส เกิดขึ้นแผดเผาให้เร่าร้อน ทุกเวลานาที ทุกอิริยาบถ,
    ในความรู้สึกอย่างสันทิฏฐิโก (คือรู้สึกอยู่ภายในใจ) (๘)
  • มีชีวิตเย็นเป็นนิพพาน (นิพฺพุโต) ในปัจจุบันได้
    โดยที่ทุกอย่างถูกต้องแล้ว พร้อมแล้ว ไม่ว่าสำหรับจะตายหรือจะอยู่;
    เพราะไม่มีอะไรยึดถือไว้ว่า กู-ของกู (๙)
  • กิจกรรมทางเพศเป็นของร้อน และเป็นเรื่อง "บ้าวูบเดียว";
    แต่คนและสัตว์ (แม้ต้นไม้?) ก็ตกเป็นทาสของมันยิ่งกว่าสิ่งใด (๑๐)
  • อวัยวะสืบพันธุ์ มีไว้สำหรับผู้ต้องการสืบพันธุ์
    หรือผู้ต้องการรสอร่อยจากกามคุณ (กามอสฺสาท)
    อันเป็นค่าจ้างให้สัตว์สืบพันธุ์ ด้วยความยากลำบากและน่าเกลียด;
    แต่ไม่เป็นที่ต้องการของผู้จะอยู่อย่างสงบ (๑๑)
  • เรื่องเพศหรือเกี่ยวกับเพศ
    ธรรมชาติสร้างมาสำหรับมนุษย์ - สัตว์ - พฤกษชาติ ไม่สูญพันธุ์ ;
    ไม่ใช่ของขวัญที่ใครจะเรียกร้อง
    ไม่ใช่ของควรบูชาในฐานะสิ่งสูงสุด ว่าเป็นกามเทพ เป็นต้น (๑๒)
  • กามารมณ์เป็นค่าจ้างทางเพศ เพื่อการสืบพันธ์
    อันสกปรกเหน็ดเหนื่อยและน่าเกลียดจากธรรมชาติ,
    มิใช่ของขวัญ หรือ หรรษทานจากเทพเจ้าแต่ประการใด
    เลิกบูชากันเสียเถิด (๑๓)
  • กามกิจก็เป็นหน้าที่ที่เป็นธรรมะอย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน;
    แต่ต้องประพฤติกันอย่างถูกต้องและพอดี สำหรับอริยชนที่ครองเรือน (๑๔)
  • การสมรสด้วยจิตหรือทางวิญญาณ (เช่น ทิฏฐิตรงกัน) นั้น
    เป็น "พรหมสมรส" ยังบริสุทธิ์ สะอาดดี ไม่ก่อให้เกิดทุกข์หรือปัญหาใดๆ ;
    ส่วนการสมรสทางกาย หรือเนื้อหนัง นั้น
    สกปรก น่าเกลียด เหน็ดเหนื่อยเกินไป
    จนไม่รู้ว่าอะไรเป็นการสมรส (๑๕)
  • กามที่เกี่ยวกับเพศ เป็นได้ทั้งเทพเจ้าและปีศาจ
    ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ประกอบกิจนั้น มีธรรมะผิดถูกมากน้อยเพียงไร (๑๖)
  • พวกที่ถือพระเจ้า ถือว่าอะไรๆ ก็แล้วแต่พระเจ้าบันดาล
    ส่วนชาวพุทธถือว่าแล้วแต่การกระทำผิดหรือถูก ต่อกฏอิทัปปัจจยตา;
    ดังนั้นควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า "พระเจ้า" กันเสียใหม่ให้ถูกต้อง
    คือมีทั้งที่มีความรู้สึกอย่างบุคคล และไม่มีความรู้สึกอย่างบุคคล
    อย่างไหนจะเป็นที่พึ่งได้และยุติธรรม ไม่รับสินบน (๑๗)
  • พระเจ้าคือสิ่งสูงสุดนั้น ไม่ดี-ไม่ชั่ว แต่อยู่เหนือดีเหนือชั่ว
    จึงสามารถให้เกิดความหมาย ว่าดี ว่าชั่ว
    ให้แก่ความรู้สึกของมนุษย์ได้ทุกอย่าง จนงงไปเอง (๑๘)
  • พระเจ้า คือ กฏ สำหรับบังคับสิ่งที่เกิดจากกฏให้ต้องเป็นไปตามกฏ
    โดยเด็ดขาด และเที่ยงธรรม;
    ดังนั้น พระเจ้าจึงอยู่เหนือสิ่งทั้งปวงได้จริง (๑๙)
  • พระเจ้าเป็นที่รวมแห่งความจริง
    มิใช่แห่งความดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังหละหลวม และเป็นมายาอยู่มาก
    จนต้องเป็นคู่กันกับความชั่ว;
    ถ้าพระเจ้าเป็นความดี ก็จะกลายเป็นคู่กันกับซาตานหรือมารร้ายไปเสียฯ (๒๐)

Tuesday, March 1, 2011

ประวัติท่านเจ้าอาวาสวัดพายัพ อารามหลวง


ประวัติและผลงานของ
พระราชวิมลโมลี (ดำรง ทิฏฺฐธมฺโม ป.ธ.๙, ศษ.ด. )
รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
และ เจ้าอาวาสวัดพายัพ พระอารามหลวง
ประวัติและผลงานเจ้าอาวาส
๑. ชื่อ พระราชวิมลโมลี ฉายา ทิฏฺฐธมฺโม อายุ ๖๐ พรรษา ๔๐
วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ.๙, ศษ.ด.
สังกัด วัดพายัพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
๑.๑ เจ้าอาวาสวัดพายัพ (พระอารามหลวง)
๑.๒ รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ๒๕๒๒
๑.๓ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ – ปัจจุบัน
๒. สถานะเดิม
ชื่อ ดำรง นามสกุล ด้อมกลาง
ชาติกาล วันเสาร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐
ชาติภูมิ บ้านเลขที่ ๓๔ หมู่ที่ ๑๒ บ้านด่านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง
จังหวัดนครราชสีมา
บิดา นายพรม ด้อมกลาง
มารดา นางทอง ด้อมกลาง
๓. บรรพชา
วันพุธที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๕
วัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
พระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการเพชร พทฺธญาโณ วัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด
อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
๔. อุปสมบท
วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑
วัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
พระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการเพชร พทฺธญาโณ วัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด
อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
๕. วิทยฐานะ
พ.ศ.๒๕๐๔ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่๗ จากโรงเรียนชุมพวงวิทยา
พ.ศ.๒๕๐๘ สอบได้ น.ธ.เอก สำนักเรียนคณะจังหวัดนครราชสีมา วัดพระนารายณ์
พ.ศ.๒๕๑๒ สอบได้ ป.ธ.๓ สำนักเรียนคณะจังหวัดนครราชสีมา วัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๑๖ สอบได้ ป.ธ.๖ สำนักเรียนคณะจังหวัดนครราชสีมา วัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๑๙ สอบได้ ป.ธ.๙ สำนักเรียนวัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๕๕๑ ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศษ.ด.)
สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๕๑ กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต)
สาขาวิชาภาษาบาลี ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์
การศึกษาพิเศษ ได้ศึกษาค้นคว้าความรู้พิเศษเพิ่มเติมปฏิบัติจริงได้และฝึกสอนได้ คือ
- ศึกษาการเขียนลายไทย วาดภาพ ปั้น หล่อ แกะสลักลายไทยประดับอาคาร
- ศึกษาการเขียนแบบแปลนการก่อสร้างโบสถ์ ศาลา กุฏิ หอระฆัง เมรุ ฯลฯ
- ศึกษาการปั้น หล่อ พระพุทธรูป ตามหลักพุทธศิลป์
- ศึกษาการออกแบบ และการทำแผนผังงานก่อสร้างวัดทั้งระบบ
- ศึกษาวิชาการสมัยใหม่ ได้นำสื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มาใช้จัดทำข้อมูลสารสนเทศภายในวัดเป็นแห่งแรกของจังหวัดฯ ปี ๒๕๓๑
- ศึกษาค้นคว้าวิจัยตรวจสอบด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม การสวดมนต์ การสวดสังฆกรรม พิธีกรรม และงานวิชาการทางพระพุทธศาสนา
ความชำนาญการพิเศษ ด้านนวกรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และการก่อสร้างวัด
ได้รับมอบจากเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นหัวหน้าพัฒนาวัดได้เขียนแบบแปลนถวายวัด และช่วยควบคุมการก่อสร้างให้วัดต่างๆ เช่น
- แบบแปลนหอประชุมสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา วัดพายัพ (ปี ๒๕๑๖)
- พระอุโบสถวัดพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถวัดตะกุดเครือปลอก อำเภอจักราช
- อุโบสถวัดสระบัวเกลื่น อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถวัดยางใหญ่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถวัดสว่างบูรพาราม ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน
- อุโบสถวัดบ้านบุ ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช
- อุโบสถวัดพลกรัง ตำบลพลกรัง อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถวัดปรือแวง ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- อุโบสถวัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง
- อุโบสถวัดกำปัง ตำบลกำปัง อำเภอโนนไทย
- อุโบสถวัดสีจาน อำเภอขามทะเลสอ
- อุโบสถวัดโคกประดู่ ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถวัดตะบอง ตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย
- อุโบสถวัดเหมสูง ตำบลหนองพวง อำเภอจักราช
- อุโบสถวัดปรก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ศาลาการเปรียญวัดพลับ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ศาลาการเปรียญวัดหนองจะบก อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ศาลาการเปรียญวัดสีดา ตำบลสีดา อำเภอบัวใหญ่
- ศาลาการเปรียญวัดพลับพลา ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย
- ศาลาการเปรียญวัดบ้านหนุก ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอโนนสูง
- ศาลาการเปรียญวัดด่านเกวียน ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง
- ศาลาการเปรียญวัดโคกสีสุก ตำบลจักราช อำเภอจักราช
- ซุ้มประตูวัดพายัพ ๓ ภาษา อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ซุ้มประตูวัดหนองจะบก อำเภอเมืองนครราชสีมา
- หอระฆังวัดพายัพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา
- หอระฆังวัดบึง ตำบลในเมือ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- หอระฆังวัดประมวลราษฎร์ ตำบลจอหอ อำเภอเมือง
- หอระฆังวัดหนองจะบก ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
- หอระฆังวัดทรงศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
- กุฏิสงฆ์วัดหนองบัว ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง
- กุฏิสงฆ์วัดบ้านกระทอน ตำบลมะเริง อำเภอเมือง
- ตราวัดพายัพ อ.เมืองนครราชสีมา
- ตราวัดบึง อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ตราวัดด่านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง
- สระน้ำคอนกรีตวัดบุ ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช
- เมรุวัดพิกุลทอง อำเภอชุมพวง
- เมรุวัดนกออก อำเภอปักธงชัย
- กุฏิวัดหนองจอก ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช
- อุโบสถเรือวัดอรัญญวนาราม อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
- กุฏิวัดใหม่อัมพวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา
- อุโบสถหินวัดแหลมทอง อำเภอหนองบุญมาก
- อุโบสถวัดหนองพลวง อำเภอจักราช
- เมรุวัดสมุทรการ อำเภอครบุรี
- อาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ตึก ๕ ชั้น
- อุโบสถวัดแหลมทอง ตำหนองหัวแรด อำเภอหนองบุญมาก
- กุฏิวัดปรางค์น้อย ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย
- กุฏิวัดพลจลก ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอโนนสูง
- กุฏิวัดโนนมะกอก ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง
- ซุ้มประตูวัดผาณิตาราม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
- อุโบสถวัดหนองหัวฟาน ตำบลเมืองนาท อำเภอขามสะแกแสง
- อุโบสถวัดใหม่สุนทริการาม ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย
- อุโบสถวัดโนนหมัน ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- อุโบสถทรงเรือสำเภาอยุธยา วัดพายัพ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ซุ้มพระและพระประธานโรงเรียนมหิศราธิบดี อำเภอเมือง
- พระประธานอุโบสถวัดพายัพ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- พระประธานหล่อไฟเบอร์ วัดยางน้อยหัวสิบ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- พระประธานวัดบ้านหนองจอก อำเภอจักราช
- พระประธานวัดโนนหมัน อำเภอโนนสูง
- ศาลาเอนกประสงค์วัดพุทธมงคลนิมิตร รัฐนิวแม็กซิโก สหรัฐอเมริกา
- และถวายแปลนพิมพ์เขียวให้วัดต่างๆ ไปสร้างอีกมากกว่า ๒๐๐ วัด
เกียรติคุณที่ได้รับ
พ.ศ.๒๕๒๖ ได้รับประกาศนียบัตร-พัดรอง สำนักเรียนพระปริยัติธรรมตัวอย่าง
ประเภทดีเด่น จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก (วาสนมหาเถร)
พ.ศ.๒๕๒๖ ได้รับประกาศนียบัตร-พัดรอง วัดพัฒนาตัวอย่างประเภทดีเด่น
จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก (วาสนมหาเถร)
พ.ศ.๒๕๒๗ สำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้
ยกย่องนำประวัติผลงานไปตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานะเป็นพระนักพัฒนา
ดีเด่น ลงในหนังสือ THAI LIFE LAND OF THE
YALLOWROBES : REVISITED ฉบับเดือน ธันวาคม
พ.ศ.๒๕๒๗
พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับเสาเสมาธรรมจักร สาขาการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม
เนื่องในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเทศกาลวิสาขบูชา ณ มณฑล
พิธีท้องสนามหลวง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราช
กุมารี
๖. งานปกครอง
พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นเจ้าอาวาสวัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นหัวหน้าคณะทำงานพัฒนาวัดจังหวัดนคราชสีมา
พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอขามสะแกแสง
พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพายัพ (พระอารามหลวง)
พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นเจ้าอาวาสวัดพายัพ (พระอารามหลวง)
สถิติพระภิกษุสามเณรวัดพายัพ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๒๕๕๑ มีดังนี้
มีพระภิกษุจำพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๕๑ รวมจำนวน ๑,๑๓๙ รูป
มีสามเณรจำพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๕๑ รวมจำนวน ๒,๔๕๖ รูป
มีศิษย์วัด พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๕๑ รวมจำนวน ๘๘ คน
๗. งานศึกษา
พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลี วัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๑๖ เป็นกรรมการสอบธรรม-บาลีสนามหลวง จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๑๗ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสำนักเรียนวัดเทพธิดาราม
กรุงเทพ
พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นกรรมการตรวจข้อสอบบาลีสนามหลวง
พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นกรรมการสอบธรรม-บาลีสนามหลวง จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดพายัพ
พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นรองประธานอำนวยการสอบธรรม-บาลีสนามหลวง
จังหวัดนครราชสีมา ถึงปัจจุบัน
สถิติการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐–๒๕๕๑
แผนกธรรม รวมนักเรียน จำนวน ๒,๑๘๙ รูป สอบได้ รวมจำนวน ๑,๓๘๙ รูป
แผนกบาลี รวมนักเรียน จำนวน ๒,๖๔๒ รูป สอบได้ รวมจำนวน ๑,๑๘๖ รูป
๘. งานเผยแผ่
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นรองประธานอำนวยการพระธรรมทูตจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๕๐ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น พระวิปัสสนาจารย์ หัวหน้าจังหวัด
นครราชสีมา และผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาอาสภมหาเถระ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
งานให้บริการแก่คณะสงฆ์ และส่วนราชการในจังหวัดนครราชสีมา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๕๐ วัดพายัพได้ใช้สถานที่การจัดอบรม ประชุม สัมมนา ถวายความรู้แก่พระสังฆาธิการ ตั้งแต่ระดับเจ้าคณะภาคลงมาถึงในระดับเจ้าอาวาส รวมจำนวนกว่า ๗๐,๐๐๐ รูป จัดอบรมศีลธรรม คุณธรรม ให้แก่ข้าราชการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมจำนวนกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน เช่น
- ประชุมประจำเดือนของคณะสงฆ์จังหวัดฯ ทุกเดือน ครั้งละ ๑๐๐ รูป/คน
- ปี ๒๕๒๗ อบรมโรงเรียนพระสังฆาธิการ ๑๘๕ รูป รวม ๒๕ วัน
- ปี ๒๕๒๗ อบรมหลักสูตรความมั่นคงของชาติ ๓๕๐ รูป รวม ๗ วัน
- ปี ๒๕๒๗ อบรมโครงการของ กนช. แก่เจ้าคณะอำเภอ ๔๘๐ รูป รวม ๓ วัน
- ปี ๒๕๒๗ อบรมพระธรรมทูตจังหวัดนครราชสีมา ๒๕๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๒๘ อบรมโครงการของ กนช. แก่เจ้าคณะตำบล ๓๕๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๒๘ อบรมโครงการพระธรรมทูต อปต. ๒๘๖ รูป รวม ๗ วัน
- ปี ๒๕๒๙ อบรมครูสอนพระปริยัติธรรมจังหวัดฯ ๔๘๐ รูป รวม ๑๑ วัน
- ปี ๒๕๓๐ อบรมโครงการสวดมนต์ของคณะสงฆ์จังหวัด ๒๑๐ รูป รวม ๙ วัน
- ปี ๒๕๓๐ ปฏิบัติธรรมพระภิกษุสามเณรที่วัดป่าคูเมือเก่า ๘๗ รูป รวม ๑๑ วัน
- ปี ๒๕๓๑ ปฏิบัติธรรมพระภิกษุสามเณรที่วัดป่าคูเมือเก่า ๘๗ รูป รวม ๑๕ วัน
- ปี ๒๕๓๑ อบรมเจ้าอาวาส กรรมการ เรื่องพัฒนาวัด ๓๐๙ รูป/คน รวม ๕ วัน
- ปี ๒๕๓๒ อบรมเรื่องการสวดมนต์สังฆกรรมคณะสงฆ์ ๓๒๐ รูป รวม ๕ วัน
- ปี ๒๕๓๒ อบรมโครงการของ มทบ.๓ ในเขตอีสานใต้ ๑๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๓๒ อบรมเรื่องจิตเวชแก่พระภิกษุสามเณร ๑๕๐ รูป รวม ๓ วัน
- ปี ๒๕๓๓ อบรมพระสังฆาธิการ เรื่องการเผยแผ่ ๕ รุ่น ๘๐๐ รูป รวม ๙ วัน
- ปี ๒๕๓๓ อบรมครูสอนพระปริยัติธรรมจังหวัดฯ ๒๐๐ รูป รวม ๙ วัน
- ปี ๒๕๓๔ อบรมพระสังฆาธิการเขตอีสานใต้ ๕ จังหวัด ๑๖๐ รูป รวม ๘ วัน
- ปี ๒๕๓๔ อบรมเรื่องจิตเวชแก่พระสังฆาธิการ ๒๒๘ รูป รวม ๓ วัน
- ปี ๒๕๓๕ อบรมพระอุปัชฌาย์ของคณะสงฆ์จังหวัด ๓๕๐ รูป รวม ๕ วัน
- ปี ๒๕๓๕ อบรมพระสังฆาธิการของคณะสงฆ์จังหวัด ๑๗๖ รูป รวม ๕ วัน
- ปี ๒๕๓๖ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จประทานสัญญาบัตร-พัดยศ แก่พระสังฆาธิการ ภาค ๑๐-๑๒ รวม ๑๖๐ รูป
- ปี ๒๕๓๖ อบรมโครงการหลักสูตรเพื่อมั่นคงของชาติ ๖๐ รูป รวม ๕ วัน
- ปี ๒๕๓๗ อบรมเจ้าอาวาสใหม่ เขตปกครองภาค ๑๑ ๑๐๐ รูป รวม ๑๕ วัน
- ปี ๒๕๓๘ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๑ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา และวัดพายัพ และได้จัดต่อเนื่องอีกดังนี้
- ปี ๒๕๓๙ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๒ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๓๙ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๓ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๓๙ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๔ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๓๙ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๕ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- ปี ๒๕๔๓ อบรมพระสงฆ์เพื่อพัฒนาสังคมไทยรุ่น ๖ ๒๐๐ รูป รวม ๒ วัน
- อบรมฝึกซ้อมนักเรียน จัดประกวดสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะของจังหวัด และบันทึกเทปให้โรงเรียนต่างๆเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๒๙
- อบรมนักเรียนเปิดเทอมใหม่ มาฟังธรรมเจริญสมาธิ ที่วัดพายัพ ทุกสัปดาห์
- จัดเทศน์มหาชาติเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ ให้แก่โรงเรียนสุรนารีวิทยา โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ เป็นต้น
- ส่งพระวิทยากรวัดพายัพ ไปช่วยอบรม และสอนวิชาพุทธศาสนาในโรงเรียน และสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมา หลายแห่ง ตลอดมาทุกปี
- อบรมนักเรียนให้แก่ โรงเรียนเมืองนครราชสีมา โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา โรงเรียนเทศบาล ๓ ยมราชสามัคคี โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ และวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา โรงเรียนเทคโนโลยีอาชีวศึกษานครราชสีมา (A.TEC) โรงเรียนเทคโนโลยีช่างกลพณิชยการ (ชพน.) และมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เนื่องในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนา ที่วัดพายัพ และในพิธีไหว้ครูของโรงเรียนทุกปี รวมจำนวนผู้เข้าร่วมในพิธีประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน ในโอกาสต่างๆ
- เป็นผู้บรรยายเรื่องชาวพุทธต้องรู้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา เสาร์-อาทิตย์
- จัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ และออกตรวจเยี่ยมโครงการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกร ณราชวิทยาลัย
- จัดโครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสสำคัญต่างๆ มีผู้เข้าร่วมอุปสมบทในโครงการที่วัดพายัพ ครั้งละ ๗๐-๑๐๐ รูป
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งเป็นประธานการอบรมข้าราชการตำรวจภูธรภาค ๓ เมื่อปี ๒๕๔๒ จำนวน ๔๐ รุ่น รวมกว่า ๘,๐๐๐ นาย
งานเป็นวิทยากร ได้บรรยายถวายความรู้แก่คณะสงฆ์ ดังนี้
- เป็นวิทยากรบรรยายคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องการดูแลความเรียบร้อยในวัด
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมฝึกซ้อมอุปัชฌาย์ในจังหวัดนครราชสีมา ทุกปี
- เป็นวิทยากรบรรยายและตอบปัญหาโครงการตรวจเยี่ยมวัดและประชาชนของคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงพรรษาทุกปี จำนวน ๓๒ อำเภอ
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมวุฒบรรพชิต และไวยาวัจกร จังหวัดนครราชสีมา ทุกปี
- เป็นวิทยากรอบรมเรื่องกิจวัตร ๑๐ ประการ ในงานปฏิบัติธรรมของวัดต่างๆ ทุกปี
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมครูสอนปริยัติธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ทุกปี
- เป็นผู้ฝึกซ้อมแก้ไขการสวดมนต์ของคณะสงฆ์ และบันทึกเทปถวายแก่วัดต่างๆ
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมพระธรรมทูตของคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา ทุกปี
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมถวายความรู้แก่พระสังฆาธิการ คณะสงฆ์จังหวัดต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาวัด และการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม โดยเจ้าคณะจังหวัดนั้นๆ และกรมการศาสนา เป็นผู้นิมนต์ หลายครั้ง
- เป็นวิทยากรบรรยายถวายความรู้แก่พระสังฆาธิการ “เรื่องบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาบ้านเมือง” โครงการกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ (กนช.) ณ สถานที่ ดังนี้
- สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- จิตตภาวันวิทยาลัย อ.บางละมุง จังหวัดชลบุรี
- วัดเบญจมบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
- วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
- วัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- วัดคะตึกเชียงมั่น อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
- วัดพระศรีมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
- วัดคีรีวง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
- วัดพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
- วัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
- วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
- วัดโคกสมานคุณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เป็นวิทยากรบรรยายอบรมเจ้าอาวาสวัดพัฒนาตัวอย่างทั่วประเทศ “เรื่องประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาวัด” ปี ๒๕๓๘ โดย กรมการศาสนา เป็นผู้นิมนต์ ณ สถานที่ดังนี้
- วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา (รวมคณะสงฆ์ในหนตะวันออก)
- วัดสะเรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช (รวมคณะสงฆ์ในหนใต้)
- วัดเจดีย์ชาวหลัง จังหวัดลำปาง (รวมคณะสงฆ์ในหนเหนือ)
๙. งานด้านสาธารณูปการ การก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์วัด
๑. ศาลาการเปรียญ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย
สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๖๐๐,๐๐๐บาท (สร้างในสมัยอดีตเจ้าอาวาส)
๒. หอประชุมสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย
สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท (สร้างในสมัยอดีตเจ้าอาวาส)
๓. กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง
- กุฏินางกิมนึ้ง ชิ้นในเมือง คอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ๒ ชั้น สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๐๔๐,๐๐๐ บาท (สร้างในสมัยอดีตเจ้าอาวาส)
- กุฏิกรรมฐาน คอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยสิ้นค่าก่อสร้าง ๙๓,๐๐๐ บาท
- กุฏินางมาลี ตรีสุคนธ์ คอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ๒ ชั้น สิ้นค่าก่อสร้าง ๔๖๐,๐๐๐ บาท
- กุฏิวายุภักษ์ คอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ๓ ชั้นล่างเป็นถ้ำหินงอกหินย้อย สิ้นค่าก่อสร้าง ๔,๗๓๐,๐๐๐ บาท
๔. หอสมุดปริยัติปกรณ์และอาคารเรียนพระปริยัติธรรม สร้างด้วยคอนกรีตเสริม เหล็กทรงไทย ๒ ชั้น สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๑๐๑,๐๐๐ บาท
๕. หอระฆังทรงบุษบก คอนกรีตเสริมเหล็กสิ้นค่าก่อสร้าง ๑๗๘,๐๐๐ บาท
๖. โรงครัว ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สิ้นค่าก่อสร้าง ๒๙๐,๐๐๐ บาท
๗. สำนักงานโรงเรียน คอนกรีตเสริเหล็ก สิ้นค่าก่อสร้าง ๒๗๙,๐๐๐ บาท
๘. หอธรรมจักร ๑๒ เหลี่ยม คอนกรีตเสริมเหล็ก ๕ ชั้น สิ้นค่าก่อสร้าง
๔,๗๓๐,๐๐๐ บาท
๙. ศูนย์สมุนไพรพุทธรักษา คอนกรีตเสริมเหล็ก กำลังปรับปรุงเป็นอาคาร
ประชาสัมพันธ์ สิ้นค่าก่อสร้าง ๘๖๐,๐๐๐ บาท
๑๐. ซุ้มประตูวัดขาดใหญ่ ๒ ด้าน สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย แบบเสา
ตะลุงล่ามช้าง ป้ายชื่อวัด ๓ ภาษา คือ ไทย จีน อังกฤษ มียอดเสาลูกแก้วเม็ดทรงมัณฑ์ ประตูเหล็ก มีห้องเก็บอัฐิ ๒ ห้อง สิ้นค่าก่อสร้าง ๕๖๗,๐๐๐ บาท
๑๑. ห้องน้ำ ๑๕ ห้อง สิ้นค่าก่อสร้าง ๗๐,๐๐๐ บาท
๑๒. กำแพงรอบวัด คอนกรีตเสริมเหล็ก มีลูกกรงดัด ความยาว ๔๒๒ เมตร
สูง ๒.๕๐ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๗๔๐,๐๐๐ บาท
๑๓. โรงเก็บโต๊ะเก้าอี้ ที่พักคนงาน สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุค
มีห้องน้ำ ๘ ห้อง และถังน้ำฝน สิ้นค่าก่อสร้าง ๔๙๕,๐๐๐ บาท
๑๔. อุโบสถหินอ่อนหลังใหม่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงเรือสำเภาอยุธยา
กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ขณะนี้ สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑๕. สร้างที่ปฏิบัติธรรมวัดพายัพขึ้น ๓ แห่ง และได้ก่อสร้างพัฒนาโดยลำดับ ดังนี้
- ที่ธรณีสงฆ์วัดพายัพบ้านปูน ตั้งอยู่ที่บ้านปูน-หนองพิมาน ตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา โดยนางมาลี ตรีสุคนธ์ ถวายที่ดินจำนวน ๘๐ ไร่เศษ เริ่มพัฒนาเมื่อปี ๒๕๒๓ สิ้นค่าก่อสร้างแล้วกว่า ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท
- วัดป่าคูเมืองเก่า ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีผู้ศรัทธาถวายที่ดิน ๒๘ ไร่ เริ่มพัฒนาเมื่อปี ๒๕๒๓ และได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัดถูกต้องและแต่งตั้งเจ้าอาวาสแล้ว สิ้นค่าก่อสร้างกว่า ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
- ธรณีสงฆ์วัดพายัพซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ ซื้อที่ดิน ๓๘๔ ไร่ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นต้นมา ได้สร้างถนน กุฏิ ศาลา ห้องน้ำ ไฟฟ้า อ่างน้ำ ปลูกต้นไม้ และการบำรุงดูแลรักษา สิ้นค่าก่อสร้างกว่า ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑๖. การสร้างถาวรวัตถุอื่นๆ ภายในวัด
๑. พระประธานประจำหอประชุมสงฆ์ ปางปฐมเทศนา ๑๒๐,๐๐๐ บาท
๒. พระประธานประจำอุโบสถ ปางปฐมเทศนาห้อยพระบาท จำลองจากถ้ำอชันตา ประเทศอินเดีย สูง ๓ เมตร ๙ นิ้ว ค่าก่อสร้าง ๗๒๐,๐๐๐ บาท
๓. พระประธานประจำศาลา ปางปฐมเทศนา ค่าก่อสร้าง ๑๙๕,๐๐๐ บาท
รวมผลงานด้านสาธารณูปการ การก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ ทุกรายการ
รวมจำนวนเงินกว่า ๖๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกสิบเจ็ดล้านบาท)
๑๐. งานสาธารณสงเคราะห์
๑. จัดหาสิ่งของและนำประชาชนไปแจกช่วยเหลือผู้ประสพอุทกภัยที่บ้านหลุมข้าว อำเภอโนนสูง มูลค่าเป็นเงินประมาณ ๖๐,๐๐๐๐ บาท
๒. จัดหาสิ่งของไปช่วยผู้ประสพอัคคีภัยที่บ้านโคกพรม หนองจะบก เมืองนครราชสีมา
๓. จัดหาพันธุ์ไม้แจกประชาชนและวัดต่างๆ จำนวนมาก และได้มอบหมายจากจังหวัด ฝ่ายสงฆ์ฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการปลูกต้นไม้ ตามโครงการอีสานเขียว ๒ ล้านต้น
๔. บริจาคหนังสือ-เงินสร้างห้องสมุดวัดโคกกรวด จำนวนเงิน ๑,๐๐๐ บาท
๕. เดินทางไปไปตรวจงานก่อสร้างวัดต่างๆ ๑๔๐ วัด ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ แบบแปลน พิมพ์เขียว ถวายวัดต่างๆ จำนวนเงิน ๔๒,๐๐๐ บาท
๖. เทคอนกรีตถนนหน้าประตูวัดทิศใต้ให้บริการประชาชน จำนวนเงิน ๑๘,๐๐๐ บาท
๗. บริจาคเงินช่วยงานพระธรรมทูต จำนวนเงิน ๖,๐๐๐ บาท
๘. บริจาคเงินสร้างโรงเรียนเด็กอนาถาหมู่บ้านเกษตรสามัคคี ๗,๐๐๐ บาท
๙. จัดหาทุนบริจาคเงินให้มูลนิธิประชานุเคราะห์ จำนวนเงิน ๑๘,๗๒๔ บาท
๑๐. จัดผ้าป่าไปช่วยวัดในถิ่นกันดารเป็นครั้งคราว
๑๑. จัดข้าวสารราคาถูกไปจำหน่ายสงเคราะห์ชาวบ้านยากจน
๑๒. จัดอาหารไปเลี้ยงคนป่วยอนาถาในโรงพยาบาลเป็นครั้งคราว
๑๓. จัดหาเครื่องนุ่งห่ม ผ้าห่ม ไปช่วยชาวบ้านยากจน และผู้ประสพภัย
๑๔. นำสิ่งของเป็นมูลค่า ๘๐,๐๐๐ บาท และเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ไปช่วยผู้ประสพภัย ธรรมชาติที่ภาคใต้ ๒ ครั้ง ที่บ้านนาเขลียง บ้านกะทูน และที่ประทิว จังหวัดชุมพร
๑๕. ช่วยเหลือผู้ประสพอัคคีภัย ที่ ร.ร.รวมมิตรวิทยา อ.เมืองนครราชสีมา
๑๖. ให้ความอุปถัมภ์สมาคมสงเคราะห์ลูกเสือชาวบ้านจังหวัดนครราชสีมา ตั้งสมาคม และใช้หอประชุมสมาชิกของสมาคมฯ ทุกปี ขณะนี้มีสมาชิก ๑๔,๐๐๐ คน
๑๗. นำประชาชนชาวบ้าน พัฒนาบึงสาธารณะที่บ้านสะเดาเอน เนื้อที่ ๑๐๐ ไร่
๑๘. มอบวิทยุสื่อสารไอคอมแก่ สภอ.คง ๕ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ เพื่อใช้ในราชการ มูลค่าเป็นเงิน ๓๒,๐๐๐ บาท
๑๙. มอบรถจิ๊บวิลลี่หน้ากบให้วัดการเวก อ.พิมาย ใช้ในงานพระธรรมทูต ๑ คัน
๒๐. ร่วมกับกองทัพภาคที่ ๒ จัดระดมทุนฝ่ายสงฆ์จังหวัดฯ สร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นเงิน ๓,๒๐๐,๐๐๐ บาท
๒๑. หล่อพระประธานให้โรงพยาบาลครบุรี หน้าตัก ๕๓ นิ้ว ปางปฐมเทศนา ๑ องค์
๒๒. ให้ตั้งศูนย์พระสงฆ์ประชาพัฒนาอิสานใช้สถานที่ตั้งศูนย์ที่สมาคมฌาปนกิจลูกเสือ
๒๓. ให้ชมรักษ์พระพุทธศาสนาใช้สถานที่ตั้งชมรม ที่อาคารหอพระธรรมจักรชั้น ๒
๒๔. นำพระภิกษุสามเณรบริจาคโลหิตให้แก่เหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา ที่โรงพยาบาลมหาราช และที่ห้างเดอะมอลล์นครราชสีมา หลายครั้ง
๒๕. สร้างศูนย์สมุนไพรเฉลิมพระเกียรติเพื่อสงเคราะห์ประชาชนที่วัดพายัพ รวมค่าก่อสร้าง ๘๐๐,๐๐๐ บาท
รวมผลงานด้านสาธารณสงเคราะห์ ทุกรายการ
รวมจำนวนเงินกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐๐ บาท (สี่ล้านบาท)
๑๑. งานศึกษาสงเคราะห์
๑. บริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เพื่อสร้างอาคารเรียนปริยัติสามัญ วัดเดิม อำเภอพิมาย จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
๒. สร้างโต๊ะเก้าอี้นักเรียนถวายวัดการเวก อำเภอพิมาย ๖๐ ชุด เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท
๓. บริจาคหนังสือสารคดีประจำห้องสมุดแก่โรงเรียนต่างๆ หลายแห่ง
๔. จัดหาทุนสร้างศาลาจริยธรรม ประจำโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
๕. ซื้อกลองยาว ชุด ๘ นิ้ว ๒๔ ชิ้น มอบให้โรงเรียนบ้านโกรกเดือนห้า ๑๒,๐๐๐ บาท
๖. จัดกัณฑ์เทศน์มหาชาติสร้างห้องเรียนอนุบาลโรงเรียนยางน้อยหัวสิบ ๓๘,๐๐๐ บาท
๗. บริจาคหินอ่อนสร้างห้องเรียนโรงเรียนชุมชนพลับพลา จำนวนเงิน ๒๑,๐๐๐ บาท
๘. เปิดสอนธรรมศึกษาทุกชั้นในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนนครราชสีมา
๙. เปิดสอนวิธีการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ให้แก่นักโทษเรือนจำกลางนครราชสีมา
๑๐. มอบโต๊ะเก้าอี้นักเรียนให้วัดโพธิ์ย่อย ลำปลายมาศ บุรีรัมย์ ๒๐ ชุด มูลค่า ๑๒,๐๐๐ บาท
๑๑. อุปถัมภ์การอบรมลูกเสือ อ.ขามทะเลสอ ๑๐,๐๐๐ บาท
๑๒. อุปถัมภ์การอบรมปฏิบัติธรรมของโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ๑๐,๐๐๐ บาท
๑๓. มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน ประจำปี ๒๕๔๕ จำนวน ๑๘ ทุน ๔๕,๐๐๐ บาท
๑๔. มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน ประจำปี ๒๕๔๖ จำนวน ๑๘ ทุน ๔๕,๐๐๐ บาท
รวมผลงานด้านการศึกษาสงเคราะห์ ทุกรายการ
รวมจำนวนเงินกว่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาท)
๑๒. งานพิเศษ
เป็นคณะกรรมการในส่วนงานคณะสงฆ์ และส่วนราชการ ดังนี้
พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นกรรมการสภาวิทยาลัยสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ.๒๕๒๙ เป็นกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นรองประธานกรรมการอบรมพระธรรมทูตจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นอาจารย์ประจำมหาจุฬาลงกรณฯ วิทยาเขตนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๑ เป็นพระปริยัตินิเทศก์จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๑ เป็นประธานกรรมการดำเนินการฝึกซ้อมสวดมนต์-สังฆกรรม
พิธีกรรม
พ.ศ.๒๕๓๒ เป็นกรรมการยกร่างหลักสูตรครูสอนปริยัติธรรม ของกรมการศาสนา
พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นกรรมการการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นกรรมการพิจารณาปรับปรุง พ.ร.บ.คณะสงฆ์
พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต
พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นกรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นประธานกรรมการประจำวิทยาเขตนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นกรรมการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณฯ
พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นรองประธานกรรมการ และเป็นอาจารย์สอนวิชานวกรรมการ
ก่อสร้าง โครงการฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
พ.ศ.๒๕๔๓ กรรมการพัฒนาแผนแม่บทก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณฯ
พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นรองประธานกรรมการยกร่างข้อบังคับการปฏิบัติศาสนกิจ
ของนิสิต
พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (สภาสูง)
พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นอนุกรรมการคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย
พ.ศ.๒๕๔๘ เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเมืองนครราชสีมา
๑๓. การศึกษาดูงานในต่างประเทศ
ตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ – ๒๕๕๐ เดินทางไปศึกษาดูงาน ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม และไปเพื่อสัมพันธไมตรีด้านศาสนาในต่างประเทศ จำนวนหลายครั้ง คือ ประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน สหรัฐอเมริกา
๑๔. สมณศักดิ์
พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร-พัดยศเปรียญธรรม ๙ ประโยค ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
พ.ศ.๒๕๒๓ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร-พัดยศ พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ
ที่ พระศรีธรรมาภรณ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
พระบรมมหาราชวัง
พ.ศ.๒๕๔๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นราช
ที่ พระราชวิมลโมลี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง

Sunday, February 27, 2011

คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง
ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ
ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด


เริ่มสวด นโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ



เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
ชะยาสะนากะตา พุทธา   เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง   เย ปิวิงสุ นะราสะภา.


ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.


สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.


หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง    โมคคัลลาโน จะ วามะเก.


ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.


เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน    โสภิโต มุนิปุงคะโว



กุมาระกัสสโป เถโร    มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง       ปะติฏฐาสิคุณากะโร.


ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.


เสสาสีติ มะหาเถรา     วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา     ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.


ระตะนัง ปุระโต อาสิ     ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง


ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา


ชินา นานาวะระสังยุตตา  สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา   พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.


อะเสสา วินะยัง ยันตุ     อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ   สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.


ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ    วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ        เต มะหาปุริสาสะภา.


อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ    ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ   ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ   ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต   จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.


คำแปล
พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ
อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์


มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น


ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ
พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก


พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา
พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง


พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา
พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย


มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง
อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง


พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ


พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก


ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส
เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน
รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่


พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา
พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง


พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ


อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น


ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน
อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ


ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล


ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

Monday, February 21, 2011

๑๐. เ ว ส สั น ด ร ช า ด ก

ระเจ้าสญชัย ทรงครองราชสมบัติเมืองสีพี มีพระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางผุสดี ธิดาพระเจ้ากรุงมัททราช พระนางผุสดีนี้ในชาติก่อนๆ ได้เคยถวายแก่นจันทน์หอม เป็นพุทธบูชาและอธิษฐานขอให้ได้เป็นพุทธมารดาพระพุทธเจ้าในกาลอนาคต ครั้นเมื่อนางสิ้นชีวิตก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อถึงวาระที่จะต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ พระอินทร์ได้ประทานพรสิบประการแก่นาง ครั้นเมื่อพระนางผุสดีทรงครรภ์ใกล้กำหนดประสูติ พระนางปรารถนาไปเที่ยวชมตลาด ร้านค้า บังเอิญในขณะเสด็จประพาสนั้น พระนางทรงเจ็บครรภ์และประสูติพระโอรสในบริเวณย่านนั้น พระโอรสจึงทรงพระนามว่า เวสสันดร หมายถึง ในท่ามกลางระหว่างย่านค้าขาย พร้อมกับที่พระโอรสประสูติ ช้างต้นของพระเจ้าสญชัยก็ตกลูกเป็นช้างเผือกเพศผู้ได้รับชื่อว่า ปัจจัยนาค เป็นช้างต้นคู่บุญพระเวสสันดร

   เมื่อพระกุมารเวสสันดรทรงเจริญวัยขึ้น ทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในการบริจาคทาน มักขอพระราชทานทรัพย์จากพระบิดามารดา เพื่อบริจาคแก่ประชาชนอยู่เป็นนิตย์ ทรงขอให้พระบิดาตั้งโรงทานสี่มุมเมือง เพื่อบริจาคข้าวปลาอาหารและสิ่งของจำเป็น แก่ประชาชน และหากมีผู้มาทูลขอสิ่งหนึ่ง สิ่งใด พระองค์ก็จะทรงบริจาคให้โดยมิได้เสียดาย ด้วยทรงเห็นว่า การบริจาคนั้นเป็นกุศลเป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ทั้งแก่ผู้รับและผู้ให้ ผู้รับก็จะพ้นความเดือดร้อน ผู้ให้ก็จะอิ่มเอิบเป็นสุขใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และยังทำให้พ้นจากความโลภความตระหนี่ถี่เหนียวในทรัพย์สมบัติของตนอีกด้วย พระเกียรติคุณของพระเวสสันดรเลื่องลือไปทั่วทุกทิศว่าทรงมีจิตเมตตาแก่ผู้อื่นมิได้ ทรงเห็นแก่ความสุขสบายหรือเห็นแก่ทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ มิได้ทรงหวงแหนสิ่งใด ไว้สำหรับพระองค์

   อยู่มาครั้งหนึ่งในเมืองกลิงคราษฏร์เกิดข้าวยากหมายแพงเพราะฝนแล้ง ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ ราษฎร์อดอยากได้รับความเดือนร้อนสาหัส ประชาชน ชาวกลิงคราษฏร์พากันไปเฝ้าพระราชา ทูลว่าในเมืองสีพีนั้นมีช้างเผือกคู่บุญพระเวสสันดร ชื่อว่า ช้างปัจจัยนาค เป็นช้างมีอำนาจพิเศษ ถ้าอยู่เมืองใด จะทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์จะบริบูรณ์ ขอให้พระเจ้ากลิงคราษฏร์ ส่งทูตเพื่อไปทูลขอช้างจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรก็จะทรงบริจาคให้เพราะพระองค์ไม่เคยขัดเมื่อมีผู้ทูลขอสิ่งใด
     พระเจ้ากลิงคราษฏร์จึงส่งพราหมณ์แปดคนไปเมืองสีพี ครั้นเมื่อพราหมณ์ได้พบ พระเวสสันดรขณะเสด็จประพาสพระนคร ประทับบนหลังช้างปัจจัยนาค พราหมณ์จึง ทูลขอช้างคู่บุญเพื่อดับทุกข์ชาวกลิงคราษฏร์ พระเวสสันดรก็โปรดประทานให้ตามที่ขอ ชาวสีพีเห็นพระเวสสันดรทรงบริจาคช้างปัจจัยนาคคู่บ้านคู่เมืองไป ดังนั้น ก็ไม่พอใจ พากันโกรธเคืองว่าต่อไปบ้านเมืองจะลำบาก เมื่อไม่มีช้างปัจจัยนาคเสียแล้ว

   จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระเจ้าสญชัย ทูลกล่าวโทษพระเวสสันดรว่าบริจาคช้างคู่บ้านคู่เมือง แก่ชาวเมืองอื่นไป ขอให้ขับพระเวสสันดรไปเสียจากเมืองสีพี พระเจ้าสญชัยไม่อาจขัดราษฏรได้ จึงจำพระทัยมีพระราชโองการให้ขับพระเวสสันดร ออกจากเมืองไป พระเวสสันดรไม่ทรงขัดข้อง แต่ทูลขอพระราชทานโอกาสบริจาคทาน ครั้งใหญ่ก่อนเสด็จออกจากพระนคร พระบิดาก็ทรงอนุญาตให้พระเวสสันดรทรงบริจาค สัตสดกมหาทาน คือบริจาค ทานเจ็ดสิ่ง สิ่งละเจ็ดร้อย แก่ประชาชนชาวสีวี
   เมื่อพระนางมัทรี พระมเหสีของพระเวสสันดรทรงทราบว่า ประชาชนขอให้ขับพระเวสสันดร ออกจากเมือง ก็กราบทูลพระเวสสันดรว่า

          "พระองค์เป็นพระราชสวามีของหม่อมฉัน พระองค์เสด็จไปที่ใด หม่อมฉันจะขอติดตาม ไปด้วยทุกหนทุกแห่ง มิได้ย่อท้อต่อความ ลำบาก ขึ้นชื่อว่าเป็นสามีภรรยาแล้ว ย่อมต้องอยู่เคียงข้างกันในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่ายามสุข หรือทุกข์ โปรดประทานอนุญาติให้หม่อมฉันติดตามไปด้วยเถิด"
     พระเวสสันดรไม่ทรงประสงค์ให้พระนางมัทรี ติดตามพระองค์ไป เพราะการเดินทางไปจากพระนครย่อมมีแต่ความยากลำบาก ทั้งพระองค์ เองก็ทรงปรารถนาจะเสด็จไปประทับบำเพ็ญศีลภาวนาอยู่ในป่า พระนางมัทรีไม่คุ้นเคยต่อสภาพเช่นนั้น ย่อมจะต้องลำบากยากเข็ญทั้ง อาหารการกินและความเป็นอยู่ แต่ไม่ว่าพระเวสสันดรจะตรัสห้ามปรามอย่างไร นาง ก็มิยอมฟัง บรรดาพระประยูรญาติ ก็พากันอ้อนวอนขอร้อง พระนางก็ทรงยืนกรานว่า จะติดตามพระราชสวามีไปด้วย

     พระนางผุสดีจึงทรงไปทูลขอพระเจ้าสญชัย มิให้ขับพระเวสสันดรออกจากเมืองพระเจ้าสญชัยตรัสว่า
          "บ้านเมืองจะเป็นสุขได้ก็ต่อ เมื่อราษฏรเป็นสุข พระราชาจะเป็นสุขได้ก็ เมื่อราษฏรเป็นสุข ถ้าราษฏรมีความทุกข์ พระราชาจะนิ่งเฉยอยู่ได้อย่างไร ราษฏรพากัน กล่าวโทษพระเวสสันดรว่าจะทำให้บ้านเมืองยากเข็ญ เราจึงจำเป็นต้องลงโทษ แม้ว่าพระเวสสันดรจะเป็นลูกของเราก็ตาม"

     ไม่ว่าผู้ใดจะห้ามปรามอย่างไร พระนางมัทรีก็จะตามเสด็จพระเวสสันดรไปให้จงได้ พระเจ้าสญชัยและพระนางผุสดีจึงขอเอา พระชาลี พระกัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรไว้ แต่พระนางมัทรีก็ไม่ยินยอม ทรงกล่าวว่า
          "เมื่อชาวเมืองสีพีรังเกียจพระเวสสันดร ให้ขับไล่ไปเสียดังนี้ พระโอรสธิดาจะอยู่ต่อไปได้อย่างไร ชาวเมืองโกรธแค้นขึ้นมา พระชาลีกัณหาก็จะทรงได้รับความลำบาก จึงควรที่จะออกจากเมืองไปเสียพร้อม พระบิดาพระมารดา"

     ในที่สุดพระเวสสันดร พร้อมด้วยพระมเหสี และโอรสธิดาก็ออกจากเมืองสีพีไป แม้ใน ขณะนั้นชาวเมืองยังตามมาทูลขอรถพระที่นั่ง ทั้งสี่พระองค์จึงต้องทรงดำเนินด้วยพระบาทออกจากเมืองสีพีมุ่งไปสู่ป่า เพื่อบำเพ็ญพรตภาวนา
     ครั้นเสด็จมาถึงเมืองมาตุลนคร บรรดากษัตริย์เจตราชทรงทราบข่าว จึงพากันมาต้อนรับ พระเวสสันดร ทรงถามถึงทางไปสู่เขาวงกต กษัตริย์เจตราชก็ทรงบอกทางให้และเล่าว่า เขาวงกตนั้นต้องเดินทางผ่านป่าใหญ่ที่เต็ม ไปด้วยอันตรายแต่เมื่อไปถึงสระโบกขรณีแล้ว ก็จะเป็นบริเวณร่มรื่นสะดวกสบาย มีต้นไม้ผล ที่จะใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้กษัตริย์เจตราช ยังได้สั่งให้ พรานป่าเจตบุตร ซึ่งเป็นผู้ชำนาญ ป่าแถบนั้น ให้คอยเฝ้าระแวดระวังรักษาต้นทาง ที่จะไปสู่เขาวงกต เพื่อมิให้ผู้ใดไปรบกวนพระเวสสันตรในการบำเพ็ญพรต เว้นแต่ทูต จากเมืองสีพีีที่จะมาทูลเชิญเสด็จกลับนครเท่านั้น ที่จะยอมให้ผ่านเข้าไปได้

     เมื่อเสด็จไปถึงบริเวณสระโบกขรณีอันเป็นที่ร่มรื่นสบาย พระเวสสันดร พระนางมัทรี ตลอดจนพระโอรสธิดา ก็ผนวชเป็นฤาษี บำเพ็ญพรตภาวนาอยู่ ณ ที่นั้น โดยมีพรานป่าเจตบุตรคอยรักษาต้นทาง ณ ตำบลบ้านทุนนวิฐ เขตเมืองกลิงคราษฏร์
     มีพราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก หาเลี้ยงชีพด้วยการ ขอทาน ชูชก ขอทานจนได้เงินมามาก จะเก็บไว้ เองก็กลัวสูญหาย จึงเอาไปฝากเพื่อนพราหมณ์ไว้ อยู่มาวันหนึ่ง ชูชกไปหาพราหมณ์ที่ตนฝากเงินได้ จะขอเงินกลับไป ปรากฎว่า พราหมณ์นั้นนำเงินไปใช้หมดแล้ว จะหามาใช้ให้ชูชกก็หาไม่ทัน จึงจูงเอาลูกสาวชื่อ อมิตตดา มายกให้แก่ชูชก พราหมณ์กล่าวแก่ชูชกว่า 

          "ท่านจงรับเอาอมิตตดาลูกสาวเราไปเถิด จะเอาไปเลี้ยงเป็นลูกหรือภรรยา หรือจะเอาไปเป็นทาสรับใช้ปรนนิบัติก็สุด แล้วแต่ท่านจะเมตตา"

     ชูชกเห็นนางอมิตตดาหน้าตาสะสวย งดงามก็หลงรัก จึงพานางไปบ้าน เลี้ยงดู นางในฐานะภรรยา นางอมิตตดาอายุยังน้อย หน้าตางดงาม และมีความกตัญญู ต่อพ่อแม่ นางจึงยอมเป็นภรรยาชูชกผู้แก่เฒ่า รูปร่างหน้าตาน่ารังเกียจ อมิตตดา ปรนนิบัติชูชกอย่างภรรยาที่ดีจะพึงกระทำทุกประการ นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง ชูชกไม่เคยต้องบ่นว่าหรือตักเตือนสั่งสอนแต่ อย่างใดทั้งสิ้น ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนาง อมิตตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดา พราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิติเตียนภรรยาของตนที่มิได้ประพฤติตนเป็น แม่บ้านแม่เรือนอย่างอมิตตดา บางบ้านก็ถึงกับทุบตีภรรยาเพื่อให้รู้จักเอาอย่างนาง เหล่านางพราหมณีทั้งหลายได้รับความเดือดร้อน ก็พากันโกรธแค้นนางอมิตตดา ว่าเป็นต้นเหตุ
   วันหนึ่งขณะที่นางไปตักน้ำในหมู่บ้าน บรรดานางพราหมณีก็รุมกันเย้ยหยันที่นางมีสามีแก่ หน้าตาน่าเกลียดอย่างชูชก นางพราหมณีพากันกล่าวว่า 

     "นางก็อายุน้อย หน้าตางดงาม ทำไมมายอมอยู่กับเฒ่าชรา น่ารังเกียจอย่างชูชก หรือว่ากลังจะหาสามีไม่ได้ มิหนำซ้ำยังทำ ตนเป็นกาลกิณี พอเข้ามาในหมู่บ้านก็ทำให้ ชาวบ้านสิ้นความสงบสุข เขาเคยอยู่กันมาดีๆ พอนางเข้ามาก็เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า หาความสงบ ไม่ได้ นางอย่าอยู่ในหมู่บ้านนี้เลย จะไปไหนก็ไปเสียเถิด"
     ไม่เพียงกล่าววาจาด่าทอ ยังพากันหยิกทึ้ึ้ง ทำร้ายนางอมิตตดา จนนางทนไม่ได้ ต้องหนีกลับบ้านร้องไห้ มาเล่าให้ชูชกฟัง ชูชกจึงบอกว่าต่อไปนี้นางไม่ต้องทำการ งานสิ่งใด ชูชกจะเป็นฝ่ายทำให้ทุกอย่าง นางอมิตตดาจึงว่า

     "ภรรยาที่ดีจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร จะปล่อยให้สามีมาปรนนิบัติรับใช้ เราทำไม่ได้หรอก ลูกหญิงที่พ่อแม่อบรมสั่งสอนมาดี ย่อมจะไม่นั่งนอนอยู่เฉยๆ ดีแต่ชี้นิ้วให้ผู้อื่นปรนนิบัติตน นี่แน่ะ ชูชก ถ้าท่านรักเราจริง ท่านจงไปหาบริวารมาปรนนิบัติรับใช้เราดีกว่า"
     ชูชกได้ฟังดังนั้นก็อัดอั้นตันใจ ไม่รู้จะไปหาข้าทาสหญิงชายมาจากไหน นางอมิตตดา จึงแนะว่า
     "ขณะนี้ พระเวสสันดรเสด็จออกมาจากเมืองสีพี มาทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า เขาวงกต พระองค์เป็นผู้ใฝ่ในการบริจาคทาน ท่านจงเดินทางไปขอบริจาคพระชาลีกัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรมาเป็นข้าทาสของเราเถิด"

     ชูชกไม่อยากเดินทางไปเลยเพราะกลัวอันตรายในป่า แต่ครั้นจะไม่ไปก็กลัวนางอมิตตดาจะทอดทิ้งไม่ยอมอยู่กับตน
   ในที่สุดชูชกจึงตัดสินใจเดินทางไปเขาวงกตเพื่อทูลขอพระชาลีกัณหา เมื่อไปถึงบริเวณปากทางเข้าสู่เขาวงกต ชูชกก็ได้พบพรานเจตบุตรผู้รักษาปากทาง หมาไล่เนื้อที่พรานเลี้ยงไว้พากันรุมไล่ต้อนชูชกขึ้นไปจนมุมอยู่บนต้นไม้ เจตบุตรก็เข้า ไปตะคอกขู่ 
     ชูชกนั้นเป็นคนมีไหวพริบ สังเกตดูเจตบุตรก็รู้ว่าเป็นคนซื่อสัตย์ มีฝีมือเข้มแข็ง แต่ขาดไหวพริบ จึงคิดจะใช้วาาจาลวง เจตบุตรให้หลงเชื่อ พาตนเข้าไปพบพระเวสสันดรให้ได้ ชูชกจึงกล่าวแก่เจตบุตรว่า
     "นี่แนะ เจ้าพรานป่าหน้าโง่ เจ้าหารู้ไม่ว่าเราเป็นใคร ผู้อื่นเขา จะเดินทางมาให้ยากลำบากทำไมจนถึงนี่ เรามาในฐานะทูต ของพระเจ้าสัญชัย เจ้าเมืองสีวีพ จะมาทูลพระเวสสันดรว่า บัดนี้ชาวเมืองสีพีได้คิดแล้ว จะมาทูล เชิญเสด็จกลับพระนคร เราเป็นผู้มาทูลพระองค์ไว้ก่อน เจ้ามัวมาขัดขวางเราอยู่อย่างนี้ เมื่อไรพระเวสสันดรจะได้ เสด็จคืนเมือง"
     เจตบุตรได้ยินก็หลงเชื่อ เพราะมีความจงรักภักดี อยากให้พระเวสสันดรเสด็จกลับ เมืองอยู่แล้ว จึงขอโทษชูชก จัดการหาอาหารมาเลี้ยงดู แล้วชี้ทางให้เข้าไปสู่อาศรม ที่พระเวสสันดรบำเพ็ญพรตภาวนาอยู่ 


     เมื่อชูชกมาถึงอาศรมก็คิดได้ว่า หากเข้าไปทูลขอ พระโอรสธิดาในขณะพระนางมัทรีอยู่ด้วย พระนางคงจะไม่ยินยอมยกให้เพราะความรัก อาลัยพระโอรสธิดา จึงควรจะรอจนพระนางเสด็จไปหาผลไม้ในป่าเสียก่อน จึงค่อยเข้า ไปทูลขอต่อพระเวสสันดรเพียงลำพัง
     ในวันนั้น พระนางมัทรีทรงรู้สึกไม่สบายพระทัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะในตอนกลางคืน พระนางทรงฝันร้ายว่า มีบุรุษร่างกายกำยำ ถือดาบ มาตัดแขนซ้ายขวาของพระนางขาด ออกจากกาย บุรุษนั้นควักดวงเนตร ซ้ายขวา แล้วยังผ่าเอาดวงพระทัยพระนางไปด้วย พระนางมัทรีทรงสังหรณ์ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น จึงทรงละล้าละลังไม่อยากไปไกลจาก อาศรม แต่ครั้นจะไม่เสด็จไปก็จะไม่มีผลไม้มาให้พระเวสสันดรและโอรสธิดาเสวย พระนางจึงจูงโอรสธิดาไปทรงฝากฝังกับ พระเวสสันดรขอให้ทรงดูแล ตรัสเรียกหา ให้เล่นอยู่ใกล้ๆ บรรณศาลา พร้อมกับเล่าความฝันให้พระเวสสันดรทรงทราบ
     พระเวสสันดรทรงหยั่งรู้ว่าจะมีผู้มาทูลขอพระโอรสธิดา แต่ครั้นจะบอกความตามตรง พระนางมัทรีก็คงจะทนไม่ได้ พระองค์เองนั้น ตั้งพระทัยมั่นว่าจะบริจาคทรัพย์สมบัติทุกสิ่งทุกประการในกายนอกกาย แม้แต่ชีวิตและ เลือดเนื้อของพระองค์ หากมีผู้มาทูลขอก็จะ ทรงบริจาคให้โดยมิได้ทรงเสียดายหรือหวาดหวั่น
   พระเวสสันดรจึงตรัสกับพระนางมัทรีว่าจะดูแลพระโอรสธิดาให้ พระนางมัทรีจึงเสด็จไปหาผลไม้ในป่าแต่ลำพัง      ครั้นชูชกเห็นได้เวลาแล้ว จึงมุ่งมาที่อาศรม ได้พบพระชาลีพระกัณหาทรงเล่นอยู่หน้าอาศรม ก็แกล้งขู่ ให้สองพระองค์ตกพระทัยเพื่อข่มขวัญไว้ก่อน แล้วชูชกพราหมณ์เฒ่าก็เข้าไปเฝ้า พระเวสสันดรกล่าววาจากราบทูลด้วยโวหาร อ้อมค้อมลดเลี้ยว ชักแม่น้ำทั้งห้า เพื่อทูลขอ พระโอรสธิดาไปเป็นข้าช่วงใช้ของตน
     พระเวสสันดรทรงมีพระทัยยินดีที่จะทรงกระทำบุตรทาน คือ การบริจาคบุตรเป็นทาน อันหมายถึงว่า พระองค์เป็นผู้สละกิเลส ความหวงแหนในทรัพย์สมบัติทั้งปวง แม้กระทั่งบุคคลอันเป็นที่รัก ก็สามารถสละ เป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ แต่พระองค์ทรงผัดผ่อนต่อชูชกว่า ขอให้ พระนางมัทรีกลับมาจากป่าได้ร่ำลาโอรสธิดา เสียก่อนชูชกก็ไม่ยินยอม กลับทูลว่า
     "หากพระนางกลับมา สัญชาตญาณแห่งมารดา ย่อมจะทำให้พระนางหวงแหนห่วงใย พระโอรสธิดา ย่อมจะไม่ทรงให้พระโอรส ธิดาพรากจากไปได้ หากพระองค์ทรง ปรารถนาจะบำเพ็ญทานจริง ก็โปรดยกให้หม่อมฉันเสียแต่บัดนี้เถิด" 


     พระเวสสันดรจนพระทัยจึงตรัสเรียกหาพระโอรสธิดา แต่พระชาลีกัณหาซึ่งแอบฟัง ความอยู่ใกล้ๆ ได้ ทราบว่า พระบิดาจะยกตน ให้แก่ชูชก ก็ทรงหวาดกลัว จึงพากันไปหลบซ่อน โดยเดินถอยหลังลงสู่สระบัว เอาใบบัว บังเศียรไว้ ชูชกเห็นสองกุมารหายไป จึงทูลประชดประชันพระเวสสันดรว่าไม่เต็มพระทัย บริจาคจริง ทรงให้สัญญาณสองกุมารหนีไปซ่อนตัวเสียที่อื่น พระเวสสันดร จึงทรงต้องออกมาตามหาพระชาลีกัณหา

     ครั้นทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าเดินขึ้นมาจากสระ จึงตรัสเรียกพระโอรสธิดาว่า
     "ชาลีกัณหา เจ้าจงขึ้นมาหาพ่อเถิด หากเจ้านิ่งเฉยอยู่ พราหมณ์เฒ่าก็จะเยาะเย้ยว่าพ่อนี้ ไร้วาจาสัตย์ พ่อตั้งใจจะบำเพ็ญทานบารมี เพื่อสละละกิเลสให้บรรลุพระโพธิญาณ จะได้เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ในภายภาคหน้า ให้พ้นจากทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด เจ้าจงมาช่วยพ่อประกอบการบุญเพื่อบรรลุผล คือ พระโพธิญาณนั้นเถิด" 

     ทั้งสองกุมารทรงได้ยินพระบิดาตรัสเรียก ก็ทรงรำลึกได้ถึงหน้าที่ของบุตรที่ดี ที่ต้องเชื่อฟังบิดามารดา รำลึกได้ถึงความพากเพียรของพระบิดาที่จะประกอบ บารมีเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส ทั้งยังรำลึกถึงขัตติยมานะว่าทรงเป็น โอรสธิดากษัตริย์ไม่สมควรจะหวาดกลัวต่อสิ่งใด จึงเสด็จขึ้นมาจากสระบัว พระบิดาก็จูงทั้งสองพระองค์มาทรงบริจาคเป็นทานแก่ชูชก
     ชูชกครั้นได้ตัวพระชาลีกัณหาเป็นสิทธิขาดแล้ว ก็แสดงอำนาจฉุดลากเอาสอง กุมารเข้าป่าไป เพื่อจะให้เกิดความยำเกรงตน พระเวสสันดรทรงสงสารพระโอรสธิดา แต่ก็ไม่อาจทำประการใดได้เพราะทรงถือว่า ได้บริจาคเป็นสิทธิแก่ชูชกไปแล้ว

     ครั้นพระนางมัทรีทรงกลับมาจากป่าในเวลาพลบค่ำ เที่ยวตามหาโอรสธิดาไม่พบ ก็มาเฝ้าทูลถามจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรจะทรงตอบความจริงก็เกรงว่า นางจะทนความเศร้าโศกมิได้ จึงทรงแกล้งตำหนิว่านางไปป่าหาผลไม้กลับมาจนเย็นค่ำ คงจะรื่นรมย์มากจนลืมนึกถึงโอรสธิดาและสวามีที่คอยอยู่ 

     พระนางมัทรี ได้ทรงฟัง ก็เสียพระทัย ทูลตอบว่า
     "เมื่อหม่อมฉันจะกลับอาศรม มีสัตว์ร้ายวนเวียนดักทางอยู่ หม่อมฉันจะมา ก็มามิได้จนเย็นค่ำ สัตว์ร้ายเหล่านั้นจึงจากไป หม่อมฉันมีแต่ความสัตย์ซื่อ มิได้เคยนึกถึงความสุขสบายส่วนตัวเลยแม้แต่น้อยนิด บัดนี้ลูกของหม่อมฉันหายไป จะเป็นตายร้ายดีอย่างไรก็มิทราบ หม่อมฉันจะเที่ยวติดตามหาจนกว่าจะพบลูก"

     พระนางมัทรีทรงออกเที่ยวตามหาพระชาลีกัณหาตามรอบบริเวณศาลา เท่าไรๆ ก็มิได้ พบจนในที่สุด พระนางก็สิ้นแรงถึงกับสลบไป พระเวสสันดรทรงเวทนา จึงทรงนำน้ำเย็นมาประพรมจนนางฟื้นขึ้น ก็ตรัสเล่าว่าได้บริจาค โอรสธิดาแก่พราหมณ์เฒ่าไปแล้ว ขอให้พระนางอนุโมทนาในทานบารมีที่ทรงกระทำ ไปนั้นด้วยบุตรทานที่พระราชสวามีทรงบำเพ็ญ และมีพระทัยค่อยบรรเทาจากความโศกเศร้า
     ฝ่ายท้าวสักกะเทวราชทรงเล็งเห็นว่า หากมีผู้มาทูลขอพระนางมัทรีไป พระเวสสันดร ก็จะทรงลำบาก ไม่อาจบำเพ็ญเพียรได้เต็มความปรารถนา เพราะต้องทรงแสวงหาอาหารประทังชีวิต ท้าวสักกะจึงแปลงองค์เป็นพราหมณ์ มาขอรับบริจาคพระนางมัทรี
     พระเวสสันดร ก็ทรงปิติยินดีที่จะได้ประกอบทารทาน คือ การบริจาคภรรยาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น พระนางมัทรีก็ทรงเต็มพระทัยที่จะได้ทรงมีส่วนในการ บำเพ็ญทานบารมีตามที่พระเวสสันดรทรงตั้งพระทัยไว้


     เมื่อได้รับบริจาคแล้ว ท้าวสักกะก็ทรงกลับคืนร่างดังเดิม และตรัสสรรเสริญอนุโมทนาในกุศลแห่งทานบารมีของพระเวสสันดร แล้วถวายพระนางมัทรีกลับคืนแด่พระเวสสันดร พระเวสสันดรจึงได้ทรงประกอบบุตรทารทาน อันยากที่ผู้ใดจะกระทำได้ สมดังที่ได้ตั้งพระทัย ว่าจะบริจาคทรัพย์ของพระองค์เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยปราศจากความหวงแหนเสียดาย
     ฝ่ายชูชกพาสองกุมารเดินทางมาในป่า ระหกระเหินได้รับความลำบากเป็นอันมาก และหลงทางไปจนถึงเมืองสีพี บังเอิญผ่านไปหน้าที่ประทับพระเจ้าสญชัยทรงทอด พระเนตรเห็นพระนัดดาทั้งสองก็ทรงจำได้ จึงให้เสนาไปพาเข้ามาเฝ้า ชูชกทูลว่า พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชาลีกัณหาให้เป็นข้าทาสของตนแล้ว บรรดาเสนาอำมาตย์และประชาชนทั้งหลาย ต่างก็พากันสงสารพระกุมารทั้งสอง และ ตำหนิพระเวสสันดรที่มิได้ทรงห่วงใยพระโอรสธิดา

     พระชาลีเห็นผู้อื่นพากันตำหนิติเตียนพระบิดาจึงทรงกล่าวว่า
     "เมื่อพระบิดาเสด็จไปผนวชอยู่ในป่า มิได้ทรงมีสมบัติใดติดพระองค์ไป แต่ทรงมีพระทัยแน่วแน่ที่จะสละกิเลส ไม่หลงใหลหวงแหนในสมบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้บุคคลอันเป็นที่รักก็ย่อมสละได้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพราะทรงมีพระทัยมั่นในพระโพธิญาณในภายหน้า ความรัก ความหลง ความโลภ ความโกรธ เป็นกิเลสที่ขวางกั้นหนทางไปสู่พระโพธิญาณ พระบิดาของหม่อมฉันสละกิเลสได้ดังนี้ จะมาตำหนิติเตียนพระองค์หาควรไม่"


     พระเจ้าสญชัยได้ทรงฟังดังนั้นก็ยินดี จึงตรัสเรียกพระชาลีให้เข้าไปหา แต่พระชาลี ยังคงประทับอยู่กับชูชก และทูลว่า พระองค์ยังเป็นทาสของชูชกอยู่ พระเจ้าสญชัยจึงขอไถ่สองกุมารจากชูชก
     พระชาลีตรัสว่า พระบิดาตีค่าพระองค์ไว้พันตำลึงทอง แต่พระกัณหานั้นเป็นหญิง พระบิดาจึงตีค่าตัวไว้สูง เพื่อมิให้ผู้ใดมาไถ่ตัวหรือซื้อขายไปได้ง่ายๆ พระกัณหา นั้นมีค่าตัวเท่ากับทรัพย์เจ็ดชีวิต เจ็ดสิ่ง เช่น ข้าทาส หญิงชาย เป็นต้น สิ่งละเจ็ดร้อย กับทองคำอีกร้อยตำลึง
     พระเจ้าสญชัยก็โปรดให้เบิกสมบัติท้องพระคลังมาไถ่ตัวพระนัดดาจากชูชก และโปรดให้จัดข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูชูชก เพื่อตอบแทนที่พาพระนัดดากลับมาถึงเมือง

     ชูชกพราหมณ์เฒ่าขอทาน ไม่เคยได้บริโภคอาหารดีๆ ก็ไม่รู้จักยับยั้ง บริโภคมาจนทนไม่ไหว ถึงแก่ความตายในที่สุด พระเจ้าสญชัยโปรด ให้จัดการศพแล้วประกาศหาผู้รับมรดก ก็หามีผู้ใดมาขอรับไม่ หลังจากนั้นพระเจ้าสญชัย จึงตรัสสั่งให้จัดกระบวนเสด็จเพื่อไปรับ พระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับคืนสู่เมืองสีพี เพราะบรรดาประชาชนก็พากันได้คิดว่า พระเวสสันดรได้ทรงประกอบทานบารมี อันยิ่งใหญ่กว่าทั้งหลายทั้งปวง ก็เพื่อประโยชน์แห่งผู้คนทั้งหลาย หาใช่เพื่อพระองค์เองไม่ เมื่อกระบวนไปถึงอาศรมริมสระโบกขรณี กษัตริย์ทั้งหกก็ทรงได้พบกันด้วยความโสมนัสยินดี
     พระเจ้าสญชัยจึงตรัสบอกพระเวสสันดรว่า ประชาชนชาวสีพีีได้เห็นสิ่งที่ถูกที่ควรแล้ว และพากันร่ำร้อง ได้ทูลเชิญเสด็จกลับเมืองสีพี พระเวสสันดร พระนางมัทรี และพระชาลีกัณหา จึงได้เสด็จกลับเมือง พระเจ้าสญชัยทรงอภิเษกพระเวสสันดรขึ้นครองเมืองสืบต่อไป

     ครั้นได้เป็นพระราชาแห่งสีพี พระเวสสันดรก็ทรงยึดมั่นในการประกอบทานบารมี ทรงตั้งโรงทานบริจาคเป็นประจำทุกวัน ชาวเมืองสีพีตลอดจนบ้านเมืองใกล้เคียง ก็ได้รับพระเมตตากรุณา มีความร่มเย็นเป็นสุข ชาวเมืองต่างก็เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน มิได้โลภ กระหายในทรัพย์สมบัติ ต่างก็มีจิตใจผ่องใสเป็นสุข เหมือนดังที่พระเวสสันดรทรงตั้งพระปณิธานว่า พระองค์จะทรงบริจาคทรัพย์สมบัติทั้งปวง เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ด้วยทรัพย์ทั้งหลาย ทำให้เกิดกิเลส คือ ความโลภ ความหลงหวงแหน เมื่อบริจาคทรัพย์แล้ว ผู้รับก็จะได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น และมีความชื่นชม ยินดี ผู้ให้ก็จะ อิ่มเอมใจว่าได้ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เกิดความปิติยินดีเช่นกัน ทั้งผู้ให้และผู้รับย่อมได้รับ ความสุขความพึงพอใจดังนี้

สั่งสอนให้คนเราเพียรประกอบคุณความดีโดยมิท้อถอย หากรู้จักสละทรัพย์บริจาคทานเนื่องนิจก็จะเป็นที่สรรเสริญทั่วไป คนโลภคนจิต"

http://www.dhammathai.org/chadok/legend10.php
 

๙. วิ ฑู ร ช า ด ก

นเมืองอินทปัตต์ แคว้นกุรุ พระราชาทรง พระนามว่า ธนัญชัย ทรงมีนักปราชญ์ประจำ ราชสำนักชื่อว่า วิธุร วิธุรเป็นผู้มีวาจาฉลาด หลักแหลม เมื่อจะกล่าวถ้อยคำสิ่งใด ก็สามารถ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสครัทธราและ ชื่นชมยินดีในถ้อยคำนั้น ในครั้งนั้น มีพราหมณ์อยู่ 4 คน เคยเป็นเพื่อน สนิทกันมาแต่เก่าก่อน ต่อมาพราหมณ์ทั้งสี่ ได้ออกบวช เป็นฤษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า หิมพานต์ และบางครั้งก็เข้ามาสั่งสอนธรรม แก่ผู้คนในเมืองบ้าง ครั้งหนึ่งมี เศรษฐี 4 คน ได้อัญเชิญฤาษีทั้งสี่ ไปที่บ้านของตน เมื่อ ฤาษีบริโภคอาหารแล้ว ได้เล่าให้เศรษฐีฟังถึง สมบัติในเมืองต่างๆทีตนได้เคยไปเยือนมา ฤาษีองค์หนึ่งเล่าถึงสมบัติของพระอินทร์ องค์ที่สองเล่าถึง สมบัติของพญานาค องค์ที่สาม เล่าถึงสมบัติพญาครุฑ และองค์สุดท้ายเล่าถึง สมบัติของพระราชาธนัญชัย แห่งเมืองอินทปัตต์ เศรษฐีทั้งสี่ได้ฟังคำพรรณนา ก็เกิดความ เลื่อมใสอยากจะได้สมบัติเช่นนั้นบ้าง ต่างก็ พยายามบำเพ็ญบุญ ให้ทาน รักษาศีลและอธิษฐาน ขอให้ได้ไปเกิดเป็นเจ้าขอสมบัติดังที่ต้องการ ด้วยอำนาจแห่งบุญ ทาน และศีล เมื่อสิ้น อายุแล้ว เศรษฐีทั้งสี่ก็ได้ไปเกิดในที่ที่ตั้ง ความปรารถนาไว้ คือ คนหนึ่งไปเกิดเป็น ท้าวสักกะเทวราช คนที่สองไปเกิดเป็น พญานาคชื่อว่า ท้าววรุณ คนที่สามไปเกิดเป็น พญาครุฑ และคนที่สี่ไปเกิดเป็นโอรสพระเจ้าธนัญชัย ครั้นเมื่อพระราชาธนัญชัยสวรรคตแล้ว ก็ได้ครอง ราชสมบัติในเมืองอินทปัตต์ต่อมา ทั้งท้าวสักกะ พญานาควรุณ พญาครุฑ และ พระราชา ล้วนมีจิตใจ ปรารถนาจะรักษาศีล บำเพ็ญธรรม ต่างก็ได้แสวงหาโอกาสที่จะรักษา ศีลอุโบสถและบำเพ็ญบุญ ให้ทาน อยู่เป็นนิตย์ วันหนึ่งบุคคลทั้งสี่เผอิญได้มาพบกันที่สระ โบกขรณี ด้วยอำนาจแห่งความผูกพันที่มี มาตั้งแต่ครั้งยังเกิด เป็นเศรษฐีสี่สหาย ทั้งสี่ คนจึงได้ทักทายปราศรัยกันด้วยไมตรี ขณะกำลังสนทนาก็ได้เกิดถกเถียงกันขึ้นว่า ศีลของใครประเสริฐที่สุด ท้าวสักกะกล่าวว่า พระองค์ทรงละทิ้งสมบัติทิพย์ในดาวดึงส์ มา บำเพ็ญ พรตอยู่ในมนุษย์โลก ศีลของพระองค์ จึงบริสุทธิกว่าผู้อื่น ฝ่ายพญานาควรุณกล่าวว่า ธรรมดาครุฑนั้น เป็นศัตรูตัวร้ายของนาค เมื่อตนได้พบกับพญาครุฑ กลับสามารถ อดกลั้นความโกรธเคืองได้ จึงนับว่า ศีลของ ตนบริสุทธิ์กว่าผู้อื่น พญาครุฑกล่าวแย้งว่า ธรรมดานาคเป็นอาหารของครุฑ ตนได้พบ นาคแต่ สามารถอดกลั้นความอยากใน อาหารได้ นับว่าศีลของตนประเสริฐที่สุด ส่วนพระราชาทรงกล่าวว่า พระองค์ได้ทรงละ พระราชวังอันเป็นสถานที่สำราญ พรั่งพร้อม ด้วยเหล่านารีที่เฝ้าปรนนิบัติ มาบำเพ็ญธรรม แต่ลำพังเพื่อประสงค์ความสงบ ดังนั้นจึงควร นับว่า ศีลของพระองค์ บริสุทธิ์ที่สุด ทั้งสี่ถกเถียงกันเป็นเวลานาน แต่ก็ไม่สามารถ ตกลงกันได้ จึงชวนกันไปหาวิธุรบัณฑิต เพื่อให้ ช่วยตัดสิน วิธุรบัณฑิตจึงถามว่า
"เรื่องราวเป็น มาอย่างไรกัน ข้าพเจ้าไม่อาจตัดสินได้หากไม่ ทราบเหตุอันเป็นต้น เรื่องของปัญหาอย่างละเอียด ชัดเจนเสียก่อน" แล้วทั้งสี่ก็เล่าถึงเรื่องราวทั้งหมด วิธุรบัณฑิตฟังแล้วก็ตัดสินว่า

"คุณธรรมทั้งสี่ ประการนั้น ล้วนเป็นคุณธรรมอันเลิศทั้งสิ้น ต่างอุดหนุน เชิดชูซึ่งกันและกัน ไม่มีธรรมข้อไหน ต่ำต้อยกว่ากันหรือเลิศกว่ากัน บุคคลใดตั้งมั่น อยู่ในคุณธรรมทั้งสี่นี้ ถือได้ว่าเป็นสันติชนในโลก"

ทั้งสี่เมื่อได้สดับคำตัดสินนั้น ก็มีความชื่นชม ยินดีในปัญญาของวิธุรบัณฑิต ที่สามารถแก้ ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุมีผล ต่างคน ต่างก็ได้บูชาความสามารถของวิธุรบัณฑิต ด้วยของมีค่าที่เป็นสมบัติของตน เมื่อพญานาควรุณกลับมาถึงเมืองนาคพิภพ พระนางวิมลา มเหสีได้ทูลถามขึ้นว่า "แก้ว มณีที่พระศอของ พระองค์หายไปไหนเพคะ"
พญานาควรุณตอบว่า "เราได้ถอดแก้วมณี ออกให้กับวิธุรบัณฑิต ผู้มีสติ ปัญญาเฉียบ แหลมมีวาจาอันประกอบด้วยธรรมไพเราะ จับใจเราเป็นอย่างยิ่ง และไม่ใช่แต่เราเท่านั้น ที่ได้ให้ของอันมีค่ายิ่งแก่วิธุรบัณฑิต ทั้งท้าว สักกะเทวราช พญาครุฑ และพระราชา ต่างก็ ได้มอบของมีค่าสูง เพื่อบูชาธรรมที่วิธุรบัณฑิต แสดงแก่เราทั้งหลาย"
พระนางวิมลาทูลถามว่า "ธรรมของวิธุร บัณฑิตนั้นไพเราะจับใจอย่างไร"
พญานาค ทรงตอบว่า "วิธุรบัณฑิตเป็นผู้มีปัญญา เฉียบแหลม รู้หลักคุณธรรมอันลึกซึ้ง และสามารถแสดงธรรมเหล่านั้น ได้อย่าง ไพเราะจับใจ ทำให้ผู้ฟังเกิดความชื่นชม ยินดีในสัจจะแห่งธรรมนั้น"
พระนางวิมลาได้ฟังดังนั้นก็เกิดความปราถนา จะได้ฟังวิธุรบัณฑิตแสดงธรรมบ้าง จึงทรงทำ อุบายว่าเป็นไข้ เมื่อพญานาควรุณทรงทราบก็ เสด็จไปเยี่ยมตรัสถามว่า พระนางป่วยเป็นโรค ใดทำอย่างไรจึงจะหาย จากโรคได้
พระนางวิมลา ทูลตอบว่า "หม่อมฉันไม่สบายอย่างยิ่ง ถ้าจะให้ หายจากอาการ ก็ขอได้โปรดประทานหัวใจ วิธุรบัณฑิตให้หม่อมฉันด้วยเถิด" พญานาคได้ฟังก็ตกพระทัย ตรัสว่า วิธุรบัณฑิต เป็นที่รักใคร่ของผู้คนทั้งหลายยิ่งนัก คงจะไม่มี ผู้ใด สามารถล่วงล้ำเข้าไปเอาหัวใจวิธุรบัณฑิต มาได้ พระนางวิมลาก็แสร้งทำเป็นอาการป่วย กำเริบหนักขึ้นอีก พญานาควรุณก็ทรง กลัดกลุ้มพระทัยอย่างยิ่ง ฝ่ายนางอริทันตี ธิดาพญานาคเห็นพระบิดา วิตกกังวลจึงถามถึงเหตุที่เกิดขึ้น พญานาควรุณ ก็เล่าให้นาง ฟัง นางอริทันตีจึงทูลว่า นางประสงค์ จะช่วยให้พระมารดาได้สิ่งที่ต้องการให้จงได้ นางอริทันตีจึงป่าวประกาศให้บรรดาคนธรรพ์ นาค ครุฑ มนุษย์ กินนร ทั้งปวงได้ทราบว่า หากผู้ใด สามารถนำหัวใจวิธุรบัณฑิตมาให้ นางได้ นางจะยอมแต่งงานด้วย ขณะนั้น ปุณณกยักษ์ผู้เป็นหลานของ ท้าวเวสุวัณมหาราชผ่านมา ได้เห็นนางก็นึก รักอยากจะได้นางเป็น ชายา จึงเข้าไปหา นางและบอกกับนางว่า "เราชื่อปุณณกยักษ์ ประสงค์จะได้นางมาเป็นชายา จงบอกแก่ เราเถิดว่าวิธุรบัณฑิตเป็นใคร อยู่ที่ไหน เราจะ นำหัวใจของเขามาให้นาง"
เมื่อปุณณกยักษ์ ได้ทราบว่าวิธุรบัณฑิตเป็น มหาราชครูในราชสำนักพระเจ้าธนัญชัย
จึงดำริว่า "หากเรา ต้องการตัววิธุรบัณฑิต จะไปพามาง่ายๆ นั้น คงไม่ได้ ทางที่ดีเราจะ ต้องท้าพนันสกากับพระเจ้าธนัญชัย โดย เอาวิธุรบัณฑิตเป็นสิ่งเดิมพัน ด้วยวิธีนี้เราคง จะเอาตัววิธุรบัณฑิตมาได้"

คิดดังนั้นแล้ว ปุณณกยักษ์ก็ไปสู่ราชสำนัก ของพระราชาธนัญชัย และทูลพระราชาว่า "ข้าพระองค์มาท้า พนันสกา หากพระองค์ชนะ ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะถวายแก้วมณีวิเศษอันเป็น สมบัติสำหรับพระจักรพรรดิ กับจะถวายม้าวิเศษ คู่บุญจักรพรรดิ"
พระราชาธนัญชัยทรงปรารถนาจะได้แก้วมณี และม้าแก้วอันเป็นของคู่บุญจักรพรรดิ จึงตอบ ปุณณกยักษ์ ว่าพระองค์ยินดีจะเล่นพนันสกา ด้วยปุณณกยักษ์ก็ทูลถามว่า หากพระราชาแพ้พนัน จะให้อะไร เป็น เดิมพัน
พระราชาก็ทรงตอบว่า "ยกเว้นตัวเรา เศวตฉัตร และมเหสีแล้ว เจ้าจะเอา อะไรเป็นเดิมพันเราก็ ยินยอมทั้งสิ้น" ปุณณกยักษ์ พอใจคำตอบ จึงตกลงเริ่มทอดสกาพนัน ปรากฏว่าพระราชาทรงทอดสกาแพ้ ปุณณก ยักษ์จึงทวงทรัพย์เดิมพัน โดยทูลพระราชาว่า "ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาทรัพย์สมบัติใดๆ ทั้งสิ้น ขอแต่วิธุรบัณฑิตแต่ผู้เดียวเป็นรางวัลเดิมพันสกา"

พระราชาตกพระทัย ตรัสกับปุณณกยักษ์ว่า "อันวิธุรบัณฑิตนั้นก็เปรียบได้กับตัวเราเอง เราบอกแล้วว่า ยกเว้นตัวเรา เศวตฉัตร และ มเหสีแล้ว เจ้าจะขออะไรก็จะให้ทั้งนั้น"
ปุณณกยักษ์ทูลว่า "เราอย่ามาโต้เถียงกันเลย ขอให้วิธุรบัณฑิตเป็นผู้ตัดสินดีกว่า"
เมื่อ พระราชาให้ไปตามวิธุรบัณฑิตมา ปุณณก ยักษ์ก็ถามว่า "ท่านเป็นทาสของพระราชา หรือว่าท่านเสมอกับพระราชา หรือสูงกว่า พระราชา"
วิธุรบัณฑิตตอบว่า "ข้าพเจ้า เป็นทาสของพระราชา พระราชาตรัสสิ่งใด ข้าพเจ้าก็ จะทำตาม ถึงแม้ว่าพระองค์จะ พระราชทานข้าพเจ้าเป็นค่าพนัน ข้าพเจ้า ก็จะยินยอมโดยดี"
พระราชาได้ทรงฟังวิธุรบัณฑิตตอบดังนั้น ก็เสียพระทัยว่า วิธุรบัณฑิตไม่เห็นแก่ พระองค์กลับไปเห็นแก่ ปุณณกยักษ์ ซึ่ง ไม่เคยได้พบกันมาก่อนเลย
วิธุรบัณฑิต จึงทูลว่า "ข้าพระองค์จักพูดในสิ่งที่เป็นจริง สิ่งที่ เป็นธรรมเสมอ ข้าพระองค์ จักไม่ หลีกเลี่ยงความเป็นจริงเป็นอันขาด วาจา อันไพเราะนั้นจะมีค่าก็ต่อ เมื่อประกอบ ด้วยหลักธรรม"

พระราชาได้ฟังก็ทรงเข้าพระทัย แต่ก็มี ความโทมนัสที่จะสูญเสียวิธุรบัณฑิตไป จึงขออนุญาตปุณณกยักษ์ ให้วิธุรบัณฑิต ได้แสดงธรรมแก่พระองค์เป็นครั้งสุดท้าย ปุณณกยักษ์ก็ยินยอม วิธุรบัณฑิตจึงได้แสดง ธรรมของผู้ครองเรือนถวายแด่พระราชา ครั้นเมื่องแสดงธรรมเสร็จแล้ว ปุณณกยักษ์ก็ สั่งให้วิธุรบัณฑิตไปกับตน เพราะพระราชา ได้ยกให้เป็นสิน พนันแก่ตนแล้ว

วิธุรบัณฑิต จึงกล่าวแก่ปุณณกยักษ์ว่า "ขอให้ข้าพเจ้า มีเวลาสั่งสอนบุตรและภรรยาสักสามวันก่อน ท่านก็ได้เห็นแล้วว่าข้าพเจ้าพูดแต่ความเป็นจริง พูดโดยธรรม มิได้เห็นแก่ผู้ใดหรือสิ่งหนึ่ง สิ่งใด ยิ่งไปกว่าธรรม ท่านได้เห็นแล้วว่าข้าพเจ้า มีคุณ แก่ท่าน ในการที่ทูลความเป็นจริงแก่พระราชา ฉะนั้นขอให้ท่านยินยอมตามความประสงค์ ของข้าพเจ้าเถิด"

ปุณณกยักษ์ได้ฟังดังนั้น ก็เห็นจริงในถ้อยคำ ที่วิธุรบัณฑิตกล่าว จึงยินยอมที่จะพักอยู่เป็น เวลาสามวัน เพื่อให้วิธุรบัณฑิตมีเวลาสั่งสอน บุตรภรรยา วิธุรบัณฑิตจึงเรียกบุตรภรรยา มาเล่าให้ทราบความที่เกิดขึ้น แล้วจึงสอนบุตร ธิดาว่า "เมื่อพ่อไปจากราชสำนักพระราชา ธนัญชัยแล้ว พระองค์อาจจะทรงไต่ถามเจ้า ทั้งหลายว่า พ่อได้เคยสั่งสอนธรรมอันใดไว้บ้าง เมื่อพวกเจ้ากราบทูลพระองค์ไป หากเป็นที่พอ พระทัยก็ อาจจะตรัสอนุญาตให้เจ้า นั่งเสมอ พระราชอาสน์ เจ้าจงจดจำไว้ว่า ราชสกุลนั้น จะมีผู้ใดเสมอมิได้เป็นอันขาด จงทูลปฏิเสธ พระองค์ และนั่งอยู่ในที่อันควรแก่ฐานะของตน"
จากนั้น วิธุรบัณฑิตก็แสดงธรรมชื่อว่า ราชวสดีธรรมอันเป็นธรรมสำหรับข้าราชการ จะพึงปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงานและเพื่อเป็นหลักสำหรับ ยึดถือในการปฏิบัติหน้าที่และการแก้ไข ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
วิธุรบัณฑิตกล่าวในที่สุด ว่า"เป็นข้าราชการต้องเป็นผู้สุขุมรอบคอบ ฉลาดในราชกิจ สามารถจัดการต่างๆ ให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย รู้จักกาล รู้จักสมัย ว่าควรปฏิบัติอย่างไร"
เมื่อได้แสดงราชวสดีธรรมแล้ว วิธุรบัณฑิต จึงได้ออกเดินทางไปกับปุณณกยักษ์ ในระหว่าง ทางปุณณยักษ์คิดว่า เราเอาแต่หัวใจของวิธุร บัณฑิตไปคงจะสะดวกกว่าพาไปทั้งตัว คิดแล้ว ก็พยายามจะ ฆ่าวิธุรบัณฑิตด้วยวิธีต่างๆ แต่ ก็ไม่เป็นผล ในที่สุด
วิธุรบัณฑิตจึงถามว่า "ความจริงท่านเป็นใคร ท่านต้องการจะฆ่าข้าพเจ้าทำไม"
ปุณณกยักษ์จึงเล่าความเป็นมาทั้งหมด วิธุรบัณฑิตหยั่งรู้ได้ด้วยปัญญาว่า ที่แท้นั้นพระ นางวิมลา ปราถนาจะได้ฟังธรรมอันเป็นที่ เลื่องลือของตนเท่านั้น จึงคิดว่าควรจะแสดง ธรรมแก่ปุณณกยักษ์ เพื่อมิให้หลงผิด กระทำ การอันมิควรกระทำ ครั้นแล้ววิธุรบัณฑิต จึงได้แสดงธรรมชื่อว่า สาธุนรธรรม ธรรม ของคนดี แก่ปุณณกยักษ์ มีใจความว่า บุคคลที่มีอุปการคุณ ชื่อว่าเป็นเผาฝ่ามือ อันชุ่มเสีย แลัวยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้าย ต่อมิตรด้วย อนึ่ง ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจของ สตรีที่ประพฤติการอันไม่สมควร ปุณณกยักษ์ได้ฟังธรรม ก็รู้สึกในความผิดว่า วิธุรบัณฑิตมีอุปการคุณแก่ตน ไม่ควรจะกระทำร้ายหรือแม้ แต่คิดร้ายต่อวิธุรบัณฑิต ปุณณก ยักษ์จึงตัดสินใจว่าจะพาวิธุรบัณฑิตกลับ ไปยังอินทปัตต์ ตนเองจะไม่ตั้ง ความปรารถนา ในนางอริทันตีอีกต่อไปแล้ว เมื่อวิธุรบัณฑิต ทราบถึงการตัดสินใจของปุณณกยักษ์จึง กล่าวว่า "นำข้าพเจ้าไปนาคพิภพเถิด ข้าพเจ้า ไม่เกรงกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่เคย ทำความชั่ว ไว้ในที่ใด จึงไม่เคยรู้สึกกลัวว่า ความตายจะมาถึงเมื่อไร"

ปุณณกยักษ์จึงนำวิธุรบัณฑิตไปเฝ้า พญานาควรุณในนาคพิภพ เมื่ออยู่ต่อหน้า พญานาควรุณ วิธุรบัณฑิต ทูลถามว่า สมบัติในนาคพิภพนี้ พญานาควรุณได้มา อย่างไร พญานาควรุณตรัสตอบว่า ได้มา ด้วยผลบุญ เมื่อครั้งที่ได้บำเพ็ญธรรม รักษาศีลและให้ทานในชาติก่อนที่เกิด เป็นเศรษฐี วิธุรบัณฑิตจึงทูลว่า ถ้าเช่นนั้น ก็แสดงว่าพญานาควรุณทรงตระหนักถึง กรรม และผลแห่งกรรมดี ขอให้ทรงประกอบ กรรมดีต่อไป แม้ว่าในเมืองนาคนี้จะไม่มีสมณ ชีพราหมณ์ที่พญานาคจะบำเพ็ญทานได้ ก็ขอให้ทรงมีเมตตาแก่บุคคล ทั้งหลายใน เมืองนาคนี้ อย่าได้ประทุษร้ายแก่ผู้ใดเลย หากกระทำได้ดังนั้นก็จะได้เสด็จไปสู่เทวโลก ที่ดียิ่งกว่านาคพิภพนี้ พญานาควรุณได้ฟังธรรมอันประกอบด้วย วาจาไพเราะของวิธุรบัณฑิตก็มีความพอ พระทัยเป็นอันมาก และตรัสให้พาพระนางวิมลา มาพบวิธุรบัณฑิต เมื่อพระนางทอดพระเนตร เห็นวิธุรบัณฑิตก็ได้ถามว่า "ท่านตกอยู่ใน อันตรายถึงเพียงนี้ เหตุใดจึงไม่มีอาการ เศร้าโศกหรือหวาดกลัวแต่อย่างใด"
วิธุรบัณฑิตทูลตอบว่า "ข้าพเจ้าไม่เคยทำความ ชั่วจึงไม่กลัวความตาย ข้าพเจ้ามีหลักธรรม และมีปัญญา เป็นเครื่องประกอบตัว จึงไม่หวั่น เกรงภัยใดๆ ทั้งสิ้น"

พญานาควรุณและพระนางวิมลาพอพระทัย ในปัญญาและความมั่นคงในธรรมของวิธุรบัณฑิต
พญานาควรุณจึงตรัสว่า "ปัญญานั้นแหละคือหัวใจ ของบัณฑิต หาใช่หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อไม่"
จากนั้นพญานาควรุณก็ได้ยกนางอริทันตี ให้แก่ปุณณกยักษ์ ผู้ซึ่งมีดวงตาสว่างไสว ขึ้นด้วยธรรมของวิธุร บัณฑิต พ้นจากความหลง ในสตรีคือนางอริทันตี แล้วสั่งให้ปุณณกยักษ์พา วิธุรบัณฑิตไปส่งยังสำนักของ พระราชาธนัญชัย พระราชาทรงโสมนัสยินดีอย่างยิ่ง ตรัสถาม วิธุรบัณฑิตถึงความเป็นไปทั้งหลาย วิธุรบัณฑิต จึงทูลเล่า เรื่องราวทั้งสิ้น และกราบทูลในที่ สุดท้ายว่า
" ธรรมเป็นสิ่งสูงสุด บุคคลผู้มี ธรรมและปัญญาย่อมไม่หวั่นเกรงภยันตราย ย่อมสามารถเอาชนะภยันตรายทั้งปวงด้วย คุณธรรมและด้วยปัญญาของตน การแสดงธรรม แก่บุคคล ทั้งหลายนั้นคือการแสดงความจริง ให้ประจักษ์ด้วยปัญญา "
เหตุแห่งความพิบัติคือการพนัน และการมีเมตตาจิตย่อมส่งผลให้ได้รับเมตตาจิตตอบด้วยในที่สุด"
http://www.dhammathai.org/chadok/legend09.php


Popular Posts